วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความยุติธรรม



ความยุติธรรม

ความขัดแย้งแบ่งสีในสังคมไทยปะทุขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 บานปลายสืบเนื่องนานหลายปีโดยยังไม่มีวี่แววว่าจะสร่างซา ประเทศไทยเดินดุจเรือไร้หางเสือผ่านรัฐประหาร รัฐบาลนอมินี รัฐบาลอำมาตย์ พลิกกลับมาเป็นรัฐบาลโคลนนิ่ง จนถึงปี พ.ศ. 2554 ความยุติธรรมในสังคมยังดูเป็นอุดมคติอันไกลโพ้น ขณะที่ความอยุติธรรมชัดแจ้ง ฝากรอยแผลทางกายและในใจคนอย่างท่วมท้นขึ้นเรื่อยๆ จนคำกล่าวที่ว่า “คุกไทยมีไว้ขังคนจน” ดูจะเป็นสัจธรรมอันยากสั่นคลอน
อย่างไรก็ดี คุณูปการประการหนึ่งของความอึมครึมและแตกแยกในสังคม คือ คำว่า “ความยุติธรรม” ถูกพูดถึงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในแทบทุกระดับชั้น ตั้งแต่ผู้นำประเทศจนถึงคนเดินดิน แม่ค้าถกเรื่อง “ตุลาการภิวัตน์” กับลูกค้าระหว่างตักข้าวแกงใส่จาน คนทั่วไปโดยเฉพาะผู้ใส่เสื้อสีที่ “ตื่นตัวทางการเมืองอย่างฉับพลัน” ตามวาทะของอาจารย์เกษียร เตชะพีระ ถกเถียงเรื่องความยุติธรรมทางสังคมอย่างหน้าดำครํ่าเครียด และบางทีก็ถึงขั้นลงไม้ลงมือ
แต่ไม่ว่าเราจะถกเรื่องความยุติธรรมกันมากเพียงใด สิ่งที่ยังพบเห็นน้อยมากในทัศนะของผู้แปลคือ การถกเถียงอย่างรอบด้าน เคารพซึ่งกันและกัน และพยายามให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อันล้วนเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการเดินสู่ “ความยุติธรรม” ที่แท้จริง
การถกเถียงเรื่องความยุติธรรม ตั้งแต่เรื่องระดับชาติจนถึงเรื่องในครอบครัว ยังดูจะมุ่งไปที่การชักโวหารเหตุผลจากแม่นํ้าทั้งห้ามาสาธยายว่าทำไม “ฉันถูก แกผิด” และ “ความยุติธรรม” ก็มักถูกใช้ในความหมายว่า อะไรก็ตามที่ทำให้ฉันหรือพวกของฉันได้ประโยชน์ โดยไม่สนใจว่าคนอื่นได้รับผลกระทบอย่างไร กระทั่งไม่อยากฟังเพราะปักใจเชื่อไปแล้วว่าคนอื่นไม่ควรค่าแก่การรับฟัง เพราะเป็นสลิ่ม / เป็นควายที่ถูกซื้อ / เป็นชนชั้นกลางดัดจริต / เป็นพวกล้มเจ้า ฯลฯ
การเที่ยวแขวน “ป้าย” ง่ายๆ เหล่านี้ให้กับผู้คิดต่าง ทำให้คนจำนวนมากไม่ถกกันอย่างเปิดใจและตรงไปตรงมา หมกมุ่นกับการใช้วาทศิลป์สร้างวาทกรรมด้านเดียวมาสนับสนุนการต่อสู้ทางการเมือง อาทิ เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง ประชานิยม ทุนโลกาภิวัตน์ ฯลฯ ทั้งที่ในโลกแห่งความจริง สิ่งที่คำเหล่านี้อธิบาย ไม่ได้มีแต่ด้านบวกหรือด้านลบเพียงด้านเดียว และคำหลายคำที่ถูกหยิบขึ้นมาใช้เป็นอาวุธทางความคิดนั้น แท้จริงสามารถใช้ร่วมกันได้อย่างไม่เคอะเขินเพื่ออธิบายความจริง เช่น กลุ่มการเงินชุมชนหลายกลุ่มใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงช่วยเหลือ
ชาวบ้านที่เป็นหนี้สินล้นพ้นตัวได้สำเร็จ เสร็จแล้วก็นำเงินกู้ในนโยบาย “ประชานิยม” อย่างเช่นกองทุนเอสเอ็มแอล มาช่วยให้พวกเขาได้ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาใหม่
ความยุติธรรมจะบังเกิดได้อย่างไร ในเมื่อเรายังไม่เข้าใจกัน
เราจะเข้าใจกันได้อย่างไร ในเมื่อเรายังไม่ให้ความยุติธรรมแม้กับถ้อยคำ ล่ามโซ่ตีกรอบความหมายของมันอย่างคับแคบด้วยวาทกรรมที่ใช้ฟาดฟันทางการเมือง แบ่งโลกออกเป็นขาว – ดำ ทั้งที่โลกจริงหลากหลายกว่านั้น ซับซ้อนกว่านั้น และมีความหวังมากกว่านั้น
ในห้วงยามที่สังคมเป็นเช่นนี้ ผู้แปลคิดว่าหนังสือ “ความยุติธรรม” มาถูกที่ถูกเวลาเป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้เขียน – ไมเคิล แซนเดล - เป็นนักปรัชญาการเมืองร่วมสมัยที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงในโลกวิชาการ ยิ่งกว่านั้นคือ อาจารย์เป็นปัญญาชนสาธารณะที่มีความสุขกับการใช้ปรัชญาทางการเมืองหลากสำนักตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเป็นแว่นขยายส่องประเด็นสาธารณะต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน การเกณฑ์ทหาร การโก่งราคาในภาวะฉุกเฉิน โบนัสมหาศาลของผู้บริหารธนาคาร การเก็บภาษีคนรวยมาช่วยคนจน การอุ้มบุญ การุณยฆาต สิทธิส่วนบุคคลกับประโยชน์สาธารณะ ฯลฯ
ผู้แปลโชคดีที่เคยนั่งเรียนวิชา “ความยุติธรรม” กับอาจารย์ วิชานี้เป็นวิชาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดติดต่อกันนานกว่าสองทศวรรษ มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนมากกว่าหนึ่งพันคนทุกภาคเรียน มากจนต้องไปเรียนกันในโรงละครแซนเดอร์ส ซึ่งจุคนได้มากที่สุดในมหาวิทยาลัย
สิ่งที่ทำให้ผู้แปลทึ่งที่สุดไม่ใช่ความรอบรู้ของอาจารย์แซนเดล หากแต่เป็นความเอื้ออาทร อ่อนโยน และเคารพอย่างจริงใจในความคิดเห็น
ของนักศึกษาทุกคน กระทั่งกับคนที่ดันทุรัง – ดื้อดึง – ด่าทอเพื่อนร่วมห้อง หรือพูดจาถากถางอาจารย์ด้วยความเชื่อมั่นเกินขีดความสามารถของตัวเอง อาจารย์แซนเดลก็จะรับฟังอย่างตั้งใจ ใจเย็น และใจกว้าง ชี้ชวนให้ผู้คิดต่างเสนอความเห็นและถกเถียงกันในชั้นเรียน โดยสอดแทรกความคิดเห็นของตัวเองให้น้อยที่สุด
อาจฟังดูเหลือเชื่อว่า ในชั้นเรียนซึ่งมีนักเรียนยัดทะนานนับพัน ล้นห้องจนบางคาบนักศึกษานับร้อยต้องนั่งพื้นตรงทางเดิน อาจารย์กลับสามารถถามคำถามและดำเนินบทสนทนาระหว่างนักเรียนได้อย่างมีชีวิตชีวาและท้าทายความคิด (“เอ้า หนุ่มน้อยเสื้อหนาวสีขาวใส่แว่น ชั้นสามจากบนสุดคิดอย่างไรครับ”)
แต่อาจารย์แซนเดลทำได้ หนังสือเล่มนี้เป็นการถ่ายทอดบทสนทนาและการโต้วาทีในชั้นเรียน ระหว่างนักศึกษาด้วยกัน และระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ราวกับยกวิชาในตำนวนวิชานี้ทั้งวิชามาอยู่บนหน้ากระดาษ
นอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความคิดและปรัชญาการเมืองในโลกตะวันตกแล้ว แซนเดลพยายามจะบอกเราว่า ความยุติธรรมนั้นถึงที่สุดแล้วเป็นเรื่องของการ “ให้คุณค่า” กับสิ่งต่างๆ และด้วยเหตุนี้ ทั้ง “เหตุผล” และ “ศีลธรรม” จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ดังเนื้อความตอนหนึ่งว่า
“การขอให้พลเมืองในระบอบประชาธิปไตยทิ้งความเชื่อทางศีลธรรมและศาสนาไว้เบื้องหลังเมื่อพวกเขาเดินเข้าสู่วงอภิปรายสาธารณะนั้น อาจดูเป็นวิธีสร้างหลักประกันว่าคนจะอดทนอดกลั้นและเคารพซึ่งกันและกัน แต่ในความเป็นจริง สิ่งที่เกิดขึ้นอาจตรงกันข้าม การตัดสินคำถามสำคัญๆ ใประเด็นสาธารณะขณะแสร้งทำตัวเป็นกลาง ทั้งที่เป็นกลางจริงๆ ไม่ได้นั้น คือสูตรสร้างปฏิกิริยาโต้กลับและความไม่พอใจ การเมืองกลวงเปล่าอันสิ้นไร้การโต้เถียงทางศีลธรรมอย่างหนักแน่นทำให้ชีวิตพลเมืองของเราแร้นแค้น นอกจากนี้มันยังเชื้อเชิญลัทธิคลั่งศีลธรรมอันคับแคบและไม่อดทนอดกลั้น นักรากฐานนิยมวิ่งเข้าสู่พื้นที่ซึ่งนักเสรีนิยมไม่กล้าย่างเท้าเข้าไป”
ผู้แปลคิดว่าหนังสือเล่มนี้ฉายภาพอย่างแจ่มชัดว่า เหตุใด “การใช้เหตุผลทางศีลธรรม” จึงไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือไม่ควรทำ หากแต่เป็นสิ่งที่เราทำอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ ผู้แปลหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นส่วนเล็กๆ ในการส่งเสริม ขยับขยาย และยกระดับการถกเถียงประเด็นสาธารณะในสังคมไทยให้พ้นไปจากมุมมองอันคับแคบ ไม่ว่าจะเป็นแบบเข้าข้างตัวเอง แบบยึดติดกับตัวบทกฎหมาย หรือแบบ “ลัทธิคลั่งศีลธรรม” ก็ตามที
หนังสือเล่มนี้เป็นตัวอย่างของปัญญาปฏิบัติ เป็นการใช้เหตุผลสาธารณะ เพื่อถกมิติทางศีลธรรมในประเด็นสาธารณะ เพื่อชีวิตและประโยชน์สาธารณะ
เป็นหนังสือที่ทุก ‘นัก’ ไม่ควรพลาดด้่วยประการทั้งปวง
นอกจากนี้ ผู้แปลยังหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะชี้ให้เห็นคุณูปการของการ “ฟัง” อย่างเปิดใจและอ่อนโยน ดังที่อาจารย์แซนเดลทำอย่างเสมอต้นเสมอปลายตลอดมา
เพราะการฟังอย่างตั้งใจนั้น นอกจากจะยากกว่าการพูดหลายเท่าตัวแล้ว ยังจำเป็นต่อการเอื้ออำนวยให้เกิดความยุติธรรมที่แท้จริง หรืออย่างน้อยก็ช่วยบรรเทาความอยุติธรรมที่ตอกตรึงความรู้สึก “น้อยเนื้อตํ่าใจทางการเมือง” ตามวาทะของคุณโตมร ศุขปรีชา
ผู้เขียนขอขอบคุณ ปกป้อง จันวิทย์ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา พลอยแสง เอกญาติ แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล และ
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ผองเพื่อนผู้ร่วมก่อตั้งสำนักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส สำหรับกำลังใจและมิตรภาพที่มอบให้เสมอมา ขอขอบคุณ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการเล่ม ที่ได้ตรวจสอบความถูกต้องและขัดเกลาสำนวนภาษาของผู้แปลอย่างพิถีพิถัน เหนือสิ่งอื่นใด ขอขอบคุณอาจารย์ ไมเคิล แซนเดล ผู้ฉายไฟให้เห็นความสำคัญของปรัชญาในชีวิตจริง ความสนุกสนานของการถกประเด็นสาธารณะ และความงดงามของการครุ่นคิดถึง “ชีวิตที่ดี” อย่างยากจะลืมเลือน
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่าน
ในยุคปัจจุบันที่สังคมโลกต่างให้ความสำคัญกับกระแสสิทธิมนุษยชนและกระแสประชาธิปไตย คนทุกคนมีสิทธิได้รับความเป็นธรรมในสิทธิที่ตนเองควรจะได้รับ ตั้งแต่แรกเกิดคือสิทธิที่จะต้องอยู่รอด สิทธิในการได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และสิทธิที่จะได้รับการศึกษาและฝึกอบรมที่สอดคล้องกับสภาพวิวัฒนาการของสังคมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ 
ที่ความรู้คืออำนาจ การเรียนรู้จึงกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อคนทุกคนอย่างทวีคูณ ผู้ที่เข้าถึงความรู้ได้มากกว่าจึงได้เปรียบคนที่เข้าถึงความรู้ได้น้อยกว่า ผู้คนทั่วโลกมีความต้องการการศึกษามากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการประชุมการศึกษาโลกที่เมืองดาการ์ ประเทศเซเนกัล เมื่อ พ.ศ. 2543 ที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดแนวทางการปฏิรูปการศึกษา โดยมีการเสนอจุดหมายหรือหลักชัย (Goals) 6 ข้อ ซึ่งจุดหมายทั้งสามข้อใน 
ข้อนั้น ได้ชี้ให้เห็นว่าประเด็นในเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาเป็นประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากก่อนที่เราจะทำให้บรรลุเป้าหมายเรื่องการเสมอภาคทางการศึกษานั้น การมีความเข้าใจแนวคิดเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาที่ตรงกันเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ในบทความนี้ผมขอเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อเป็นฐานในการสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการศึกษาทั้งในภาพรวมระดับประเทศ และระดับสถานศึกษาความเสมอภาคทางการศึกษาไม่ใช่อะไร 
ประการแรก ไม่ใช่การใช้วิธีปฏิบัติที่เหมือนกัน  โดยธรรมชาติแล้วคนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกำเนิด   เชื้อชาติ ภาษาเพศ อายุ สภาพร่างกาย สถานะบุคคล ฯลฯ การปฏิบัติเหมือน ๆ กัน การปฏิบัติแบบเดียวกันกับคนทุก ๆ คน อาจยิ่งทำให้เกิดความแตกต่าง เกิดช่องว่าง หรือความไม่เท่าเทียมกันมากขึ้น เช่น ในทางการศึกษา การให้การศึกษาอบรมระหว่างเด็กปกติกับเด็กที่มีร่างกายพิการย่อมต้องแตกต่างกัน ดังที่ปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 10 วรรค และ ที่กำหนดว่า "การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิ และโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษการศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสองให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง..."เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพสมควรได้รับการส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาเป็นพิเศษ โดยที่รัฐหรือสถานศึกษาควรบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ด้วยความเอาใจใส่เด็กกลุ่มนี้มากเป็นพิเศษ เช่น จัดหาครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่เหมาะสม คือมีความรู้ความเข้าใจในการให้การศึกษาอบรม หรือ

พัฒนาเด็กกลุ่มนี้อย่างแท้จริง จัดหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผล ที่มีความเฉพาะเจาะจง เป็นต้น เพราะหากรัฐหรือสถานศึกษาจัดการศึกษาให้กับเด็กกลุ่มนี้เหมือน ๆ กับเด็กปกติทั่วไปทุกประการแล้ว คงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดทั้งต่อเด็กกลุ่มนี้  และสังคมส่วนรวมสำหรับเด็กกลุ่มที่มีความสามารถพิเศษก็เช่นกัน รัฐควรจะให้การศึกษาอบรมอย่างเหมาะสมกับความสามารถในด้านต่าง ๆ ของเขาดังที่ปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 10 วรรค ที่กำหนดว่า "การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น" ทั้งนี้เพราะเด็กกลุ่มนี้ต้องการความช่วยเหลือ โดยเฉพาะการได้รับการศึกษาที่ส่งเสริมความสามารถพิเศษของเขาให้โดดเด่นยิ่งขึ้น มีความต้องการที่แตกต่างจากเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน เช่น เขาต้องการการเรียนการสอนที่ท้าทายต่อศักยภาพและความสามารถของเขา เขาสามารถเรียนรู้โดยไม่ต้องใช้เวลานานเท่ากับเด็กปกติ โดยเฉพาะเรื่องที่เขามีความสามารถเป็นพิเศษ เพราะหากได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกันกับเด็กปกติแล้วอาจทำให้เด็กกลุ่มนี้มีพัฒนาการที่น้อยกว่าศักยภาพที่ตนเองมี นอกจากนี้ยังเป็นการสูญเสียโอกาสในการพัฒนาเด็กกลุ่มนี้ให้กลายเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยพัฒนาประเทศต่อไปอีกด้วย ดังนั้นความเสมอภาคทางการศึกษาที่แท้จริงจึงไม่ใช่การปฏิบัติ หรือการจัดการศึกษาที่เหมือนกันให้กับคนทุกคนประการที่สอง ไม่ใช่การให้ทุกคนไปสู่จุดหมายเดียวกัน ความเสมอภาคไม่ใช่การให้แก่ทุกคนจนกระทั่งในที่สุดแล้วคนทุกคนไปสู่จุด ๆเดียวกัน เช่น มีคนอยู่ คน คนแรกมีเงิน 200 บาท คนที่สองมีเงิน 500บาท ความเสมอภาคไม่ใช่การที่เราต้องเอาเงินให้คนแรก800 บาท และเอาเงินให้กับคนที่สอง 500 บาท เพื่อทำให้ทั้งสองคนนั้นมีเงินคนละ 1,000 บาท เท่ากัน เพราะการทำเช่นนั้นอาจไม่เป็นการยุติธรรมสำหรับคนที่สอง อาจเปรียบเทียบได้กับหลายเหตุการณ์ในสังคมที่ไม่ได้แสดงความไม่เสมอภาค ตัวอย่างเช่น การที่เราเห็นคนจน กับคนรวยในสังคมแล้วสรุปว่า ไม่มีความเสมอภาคกันในสังคมนั้นอาจเป็นข้อสรุปที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะในความเป็นจริงแล้วการที่คนหนึ่งรวยกว่าอีกคนหนึ่งนั้นอาจมาจากความขยันหมั่นเพียรศึกษาหาความรู้ เพียรพยายามในการสร้างฐานะ ในขณะที่คนที่จนนั้นอาจมาจากความไม่สนใจใฝ่หาความรู้ตั้งแต่วัยเยาว์ เกียจคร้านในการทำมาหาเลี้ยงชีพ ก็เป็นได้ หรือการที่เราเห็นครอบครัวหนึ่งมีลูก คน ลูกคนแรกเป็นแพทย์ แต่อีกคนหนึ่งเป็นเพียงคนส่งหนังสือพิมพ์ เราไม่สามารถสรุปได้ว่าเกิดขึ้นเนื่องจากเพราะพ่อแม่ไม่ได้ให้ความเสมอภาคกับลูกของตน เพราะในความเป็นจริงแล้วพ่อแม่มีความตั้งใจอยากเห็นลูกทั้งสองมีหน้าที่การงานที่ดี ส่งเสียให้เรียนอย่างเต็มที่ แต่เนื่องจากลูกคนที่สองไม่เอาใจใส่การศึกษาเล่าเรียน ผลที่เกิดขึ้นจึงไม่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ เป็นต้นในทางการศึกษาก็เช่นเดียวกันเราไม่สามารถจัดการศึกษา หรือบังคับให้คนทุกคนสอบได้ที่ หรือจบปริญญาเอกเหมือนกันหมดทุกคนได้ เพราะสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพและความสามารถ ตลอดจนพฤติกรรมหรือการกระทำของแต่ละคน แท้ที่จริงแล้ว ความแตก
ต่างระหว่างบุคคลเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมในการพัฒนาระบบต่าง ๆ ทุกระบบ หากเรารู้จักนำความแตกต่างมาใช้ในทางที่ถูกต้องความเสมอภาคทางการศึกษาจึงไม่ใช่การที่รัฐ หรือสถานศึกษาจัดการศึกษาให้กับทุกคน ทุกกลุ่ม จนในที่สุดแล้วทุกคนไปถึงจุดเดียวกัน และในสภาพความเป็นจริงนั้นย่อมไม่สามารถทำได้ และอาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดีหากพยายามจะทำเช่นนั้น เช่น ทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน ไม่เกิดความเพียรพยายามเพราะคิดว่าในที่สุดแล้วรัฐก็จะเพิ่มเติมให้เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในที่สุด ส่วนผู้ที่เพียรพยายามอยู่แล้วก็เกิดความรู้สึกว่าไม่จำเป็นจะต้องเพียรพยายามต่อไปอีก ส่งผลให้สังคมจะมีความอ่อนแอในที่สุดความเสมอภาคทางการศึกษาคือการให้โอกาสที่เท่าเทียมกัน
ความเสมอภาคทางการศึกษาคือการให้สิทธิและโอกาสในการรับการศึกษาแก่ทุกกลุ่มคนในสังคม โดยไม่ขึ้นกับความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายสถานะบุคคลทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา ฯลฯ ดังที่ปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 10 ได้กำหนดว่า "การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย"ในปี 2542 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ทำการสำรวจเรื่อง "ความต้องการการเรียนต่อของเด็กและเยาวชน" การสำรวจข้อมูลทางสังคมพ.ศ. 2542 โดยสำรวจจากเด็กและเยาวชนอายุ 13-24 ปี จำนวน 13.7ล้านคน พบว่าผู้กำลังเล่าเรียน 6.6 ล้านคน ส่วนอีก 7.1ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 52 ออกจากระบบการศึกษาไปแล้ว สาเหตุหลักพบว่า ร้อยละ 74 ไม่มีทุนทรัพย์เรียน ต้องการเลี้ยงตนเอง/ครอบครัว ส่วนอีกร้อยละ 10 ไม่สนใจและเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะเรียน อย่างไรก็ตามเด็กที่พลาดโอกาสทางการศึกษาประมาณร้อยละ 28 ยังมีความต้องการเรียนต่อ และร้อยละ 37 ต้องการฝึกอบรมวิชาชีพ   ดังนั้นการจัดการศึกษาต้องเปิดโอกาสให้คนทุกกลุ่มในสังคม เข้าถึงการศึกษาอบรมได้อย่างทั่วถึงจะรู้ได้อย่างไรว่าเสมอภาคทางการศึกษา 
จากที่กล่าวข้างต้น ความเสมอภาคไม่ได้หมายถึง การใช้วิธีปฏิบัติที่เหมือนกันกับทุก ๆ คน หรือการที่ทำให้คนทุกคนไปสู่จุดหมายเดียวกัน ดังนั้นจึงเกิดคำถามขึ้นว่า แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าสภาพหรือเหตุการณ์หนึ่ง ๆ นั้นเป็นการปฏิบัติที่เสมอภาคหรือไม่การที่เราจะตัดสินว่าเกิดความเสมอภาคทางการศึกษาหรือไม่นั้น หลักการหนึ่งที่สามารถใช้ประกอบการพิจารณาได้ คือ การพิจารณาว่า "การปฏิบัตินั้น ๆ ได้เปิดโอกาสให้ผลลัพธ์ที่แต่ละคนได้รับกับสิ่งที่แต่ละคนทำเป็นเหตุเป็นผลกันหรือไม่" หมายความว่าหากมีการเปิดโอกาสในด้านต่าง ๆ ทางการศึกษาอย่างทั่วถึงแก่บุคคลทุกคนตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว การที่ทุกคนจะไปถึงจุดมุ่งหมาย หรือถึงซึ่งความสำเร็จทางการศึกษานั้นย่อมขึ้นอยู่กับผลการกระทำของเขาเองด้วย เช่น รัฐได้เปิดโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีให้กับคนทุกคนโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย แต่คนจะเรียนจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานได้นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความเพียรพยายาม ความตั้งใจ
ของผู้เรียนแต่ละคนด้วย เช่น การเอาใจใส่การเรียน ความประพฤติในโรงเรียน และคุณสมบัติอีกหลายประการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อการเรียน ดังนั้นในกรณีที่รัฐเปิดโอกาสให้เช่นนี้แล้ว หากผลการเรียนไม่ดี หรือสอบไม่ผ่าน จึงไม่อาจกล่าวว่าเกิดจากความไม่เสมอภาค เพราะขึ้นอยู่ที่การกระทำของคนนั้น ๆ เอง ไม่ได้เป็นเพราะถูกปิดกั้นการศึกษา เป็นต้นจากตัวอย่างที่ยกมานี้ถือว่ามีการจัดการศึกษาอย่างเสมอภาคเพราะทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันตั้งแต่ต้น แต่การจะไปถึงจุดหมายคือเรียนจบในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12ปี หรือสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้หรือไม่นั้นส่วนหนึ่งอยู่ที่พฤติกรรมของบุคคลนั้น ๆเอง ความเสมอภาคทางการศึกษาจึงต้องไปควบคู่กับความยุติธรรมด้วย คือ ยุติธรรมกับทุกคนทั้งคนที่ทำดี และคนที่ทำไม่ดี ผู้ที่ตั้งใจทำสิ่งที่ดี ย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จ ส่วนผู้ที่ทำไม่ดีแม้มีโอกาสเอื้อให้เขาสำเร็จ แต่เขาสามารถประสบกับความล้มเหลวได้เช่นกันความเข้าใจในเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาที่แท้จริงนั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อนักการศึกษาทุกคน ตลอดจนผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงกับการศึกษา คือผู้เรียนทุกคน ทั้งนี้เพื่อทั้งสองฝ่ายคือรัฐที่เป็นฝ่ายจัดการศึกษากับสถานศึกษาจะสามารถบริหารจัดการศึกษาได้อย่างเสมอภาคตามศักยภาพและความต้องการของผู้เรียน และฝ่ายที่เป็นผู้เรียนซึ่งเป็นผู้รับการศึกษาจะมีความเข้าใจในสิทธิและโอกาสของตนเองในการรับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เพื่อจะสามารถบรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษา ที่ประชาชนทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง และต่อเนื่องตลอดชีวิต

ความแตกต่างของคนในสังคม




ความหลากหลาย

ความแตกต่างของคนในสังคม


 1.สาเหตุของความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม1) ความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และศาสนา
2) สภาพทางภูมิศาสตร์
3 ) รูปแบบทางเศรษฐกิจ

2. ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ ในโลกปัจจุบัน
บริเวณวัฒนธรรมคือพื้นที่หนึ่ง ๆ ซึ่งมีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

มี ระดับดังต่อไปนี้
1) เขตวัฒนธรรมของโลก เขตใหญ่ ได้แก่
1.1วัฒนธรรมของโลกตะวันตก ยึดถือเหตุผลและความคิดของบุคคล เป็นวัฒนธรรมของชาวยุโรป และสหรัฐ
1.2วัฒนธรรมของโลกตะวันออก ยึดถือประเพณี รักพวกด้อง เคารพผู้อาวุโส เป็นวัฒนธรรมของจีนและอินเดีย
2เขตวัฒนธรรมระดับประเทศ
3เขตวัฒนธรรมระดังท้องถิ่น
องค์ประกอบของวัฒนธรรม ในแต่ละเขตประกอบด้วยความเชื่อ ค่านิยม ศาสนา และ
เชื้อชาติ
ปัญหาที่เกิดจากความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม
1) ปัญหาด้านค่านิยม
2) ปัญหาด้านศาสนา เช่น ชาวฮินดูและชาวซิกก์ในอินเดีย มุสลิมและคริสต์ในเลบา
นอน
3) ปัญหาด้านความเชื่อ เช่น ความเชื่อทางการเมืองระหว่างค่ายเสรีประชาธิปไตยกับ
ค่ายคอมมิวนิสต์ ปัญหาความเชื่อของชาวยิวเรื่องดินแดนปาเลสไตน์
4) ปัญหาด้านเชื้อชาติ ได้แก่การไม่ยอมรับความแตกต่างของเชื้อชาติหรือดูถูกเชื้อชาติ
อื่น เช่น ในสหรัฐมีการสมาคมต่อต้านคนผิวดำ ที่เรียกว่า สมาคมดูลักศ์แคลน” ในเยอรมันมีการตั้งขบวนการนาซีใหม่ (นีโอนาซี) เพื่อต่อต่านชาวผิดเหลืองในเยอรมัน สงครามกลางเมืองในยูโกสลาเวีย ระหว่างมุสลิม เซิร์บ และโครแอต และสงครามระหว่างชาวทมิฬ และสิงหล ในศรีลังกา เป็นต้น
แนวทางการปรับตัวให้เข้ากับสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
1) การเปิดใจกว้างยอมรับความแตกต่าง
2) การประสานความเข้าใจ ระหว่างประเทศ ทั้งนี้องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศที่
ช่วยเหลือส่งเสริมความเข้าใจอันดีทางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่สำคัญ มีดังนี้
1) องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่ง UN (UNESCO)
2) องค์การเอกภาพแอฟริกา (OAU)
3) กลุ่มประชาคมยุโรป
4) กลุ่มอาเซียน
การพัฒนาคุณภาพประชากร
มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดทั้งนี้เพราะมนุษย์เป็นผู้ผลิต เป็นผู้ใช้ และเป็นอนุรักษ์ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อผลประโยชน์ของมนุษย์เอง
คุณภาพของประชากร จะมีผลความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง
สภาพของประชากรโลก
การเพิ่มขึ้นของประชากรโลก แบ่งออกได้เป็น ระยะ ดังนี้

1) ระยะที่ 1 อยู่ในช่วงก่อนการเกษตรกรรม มนุษย์มีภาวะการเจริญพันธุ์สูง
2) ระยะที่ 2 นับตั้งแต่ช่วงมนุษย์ประกอบอาชีพเกษตรได้จนถึงเริ่มการปฏิวัติอุตสาห
กรรม อัตราเพิ่มของประชากรเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ และค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นทุกที อัตราการเกิดสูง อัตราการตายต่ำ เนื่องจากเทคโนโลยีการเกษตรผลิตอาหารได้มากขึ้น
3) ระยะที่ 3 เริ่มจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงสงครามโลกครั้งที่ ลักษณะการ
เพิ่มของประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว จากความสำเร็จในการปฏิรูปอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าทางการแพทย์
4) ระยะที่ 4 เริ่มจากสงครามโลกครั้งที่ ถึงปัจจุบัน อัตราการเกิดยังคงสูง
ปัญหาประชากรโลกที่สำคัญในปัจจุบัน ได้แก่
อัตราการเพิ่มประชากรที่ไม่เหมาะสม (เป้าหมายของ UN ต้องการให้ลดอัตราการเพิ่มของประชากรโลกให้มีค่าเป็นศูนย์หรือใกล้เคียงกับศูนย์(ประมาณร้อยละ 0.2) ซึ่งเยอรมันตะวันออกทำได้สำเร็จชาติแรกของโลก และญี่ปุ่นประเทศแรกในเอเชีย
ผลกระทบจากการเพิ่มประชากร
1) ปัญหาขาดแคลนอาหารบริโภค
2) ปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
3) ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ
4) ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ
การพัฒนาคุณภาพของประชากรโลก
1) การพัฒนาด้านการศึกษา องค์การยูเนสโก รับผิดชอบ
2) การพัฒนาด้านสาธารณสุขและอนามัย องค์การอนามัยโลก (WHO) รับผิดชอบ
3) การพัฒนาคุณภาพของเยาวชน องค์การยูนิเซฟ (UNECEF) รับผิดชอบ
คุณภาพชีวิตของประชากร
หมายถึง ชีวิตที่มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจและทักษะองค์การยูเนสโก กำหนดว่าคุณภาพชีวิตจะดีหรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 5ประการ ได้แก่
1) มาตรฐานการครองชีพ
2) พลวัตรของประชากร เกี่ยวกับโครงสร้างทางอายุ เพศ อัตราการเกิด อัตราการตาย
3) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม
4) กระบวนการพัฒนา

5) ทรัพยากร
แนวทางในการพัฒนาคุณภาพประชากร
แนวคิดและหลักการทั่ว ๆ ไปของการพัฒนาคุณภาพประชากร คือการพัฒนาทั้งทางด้านทักษะ ร่างกายและจิตใจ ตลอดจนสภาพแวดล้อม ซึ่งกระทำได้ดังต่อไปนี้

1) การให้การศึกษา
2) การให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
3) การพัฒนาคุณภาพชีวิต
4) การเมีงานทำและมีรายได้
5) การลดจำนวนเพิ่มของประชากร
6) การบริหารทรัพยากรมนุษย์
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรกับการพัฒนาประเทศไทย
โครงสร้างประชากรไทย
1) การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร
จำนวนประชากรในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงในด้านจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คาดว่า
ในปี พ.ศ. 2539 จะมีประชากรประมาณ 61 ล้านคน
การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรขึ้นอยู่กับ อัตราการเกิด อัตราการตาย และอัตราการ
ย้ายถิ่น
2) โครงสร้างทางอายุ
2.1) อัตราการเกิดลดลง ทำให้ประชากรวัยเด็กลดลง จำนวนประชากรในวัยแรงงาน
และจำนวนประชากรสูงอายุจะมากขึ้น
2.2) อัตราการเกิดลดลง ทำให้ประชากรวันพึ่งพิงที่เป็นเด็ก (อายุไม่เกิน 15 ปี๗ ลด
ลง แต่จำนวนประชากรวัยพึ่งพิงที่เป็นผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จะเพิ่มสูงขึ้น
2.3) สัดส่วนโครงสร้างอายุในปัจจุบัน วัยเด็กประมาณร้อยละ 40 วัยทำงาน ร้อยละ
55 และผู้สูงอายุมีประมาณร้อยละ ของจำนวนประชากรทั้งหมด
วัยเด็ก อายุ 0 – 14 ปี
วัยทำงาน อายุ 15 – 59 ปี
วันสูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป
3) ปัญหาและผลกระทบการพัฒนาคุณภาพประชากรที่มีต่อการพัฒนาประเทศไทย
ด้านการศึกษามีดังนี้
3.1) ปัญหาโครงสร้างของประชากรกับการจัดการศึกษา
3.2) ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษา
3.3) ปัญหาความเสมอภาคทางการศึกษา
4) ปัญหาการจัดการศึกษา ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน
5) ปัญหาการจัดสรรทรัพยากรและบริหารการศึกษา
6) ด้านสุขภาพอนามัยมีดังนี้
6.1) ปัญหาด้านสาธารณสุข
6.2) ปัญหาเรื่องโภชนาการ
7) ด้านคุณธรรมและจริยธรรมมีดังนี้
7.1) เกิดความเคียดและความกดดันทางสังคม
7.2) ค่านิยมทางด้านวัตถุ

สิทธิมนุษย์




สิทธิมนุษย์

 
  เมื่อไม่นานมานี้ผมได้เขียนบทความหนึ่งชื่อว่า “บทเรียนกรณี 'อากง' กับปัญหาสิทธิมนุษยชนไทย” เป็นการบอกเล่าข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นบางประการเกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายอำพล ตั้งนพกุล หรือ ‘อากง’ ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งบทความดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของกระบวนการยุติธรรมของไทยและที่สำคัญคือประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย

          ปัจจุบันเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญทั้งในแง่มุมทาง ‘กฎหมาย’ และ ‘การเมือง’ อยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกลุ่ม ‘นิติราษฎร์’ ซึ่งนำโดย อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะรวม 7 คน ออกมาประกาศเรียกร้องให้แก้ไขมาตรา 112 ในเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งต่อมาไม่นานก็เป็นที่สนใจอย่างกว้างขวางทั้งผู้สนับสนุนและต่อต้าน

          ต่อมาในปลายปีเดียวกันนั้นเอง นิติราษฎร์ก็ได้จัดงานครบรอบ ‘5 ปีรัฐประหาร 19 ก.ย.49’ พร้อมทั้งได้ประกาศข้อเสนอ 4 ประการเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม ได้แก่

  • ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
  • แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
  • กระบวนการยุติธรรมของผู้ต้องหาหรือจำเลย และเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายหลังรัฐประหาร
  • ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

          จะเห็นได้ว่า ‘มาตรา 112’ ก็เป็นปัญหาสำคัญที่นิติราษฎร์เห็นว่าควร ‘แก้ไข’ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการต่อต้าน ‘รัฐประหาร’ การต่อต้าน ‘รัฐธรรมนูญเผด็จการ’ และการเยียวยา ‘ผู้ได้รับความเสียหาย’ จากเหตุการณ์ทางการเมือง ทำให้นิติราษฎร์ได้รับทั้ง ‘ดอกไม้’ และ ‘ก้อนหิน’ ในเวลาเดียวกัน จนท้ายที่สุดต้องส่งไม้ต่อให้คณะรณรงค์แก้ไข ม.112 หรือ ‘ครก.112’ ในเวลาต่อมา
          ตัวกฎหมาย ‘มาตรา 112’ นี้ผมจะไม่กล่าวถึงมากนัก เพราะได้อธิบายไปพอสมควรแล้วในบทความที่ผ่านมา[1] แต่จะขอเสนอความเห็นของทั้งฝ่ายที่ ‘เห็นด้วย’ และ ‘ไม่เห็นด้วย’ ในการแก้ไขมาตรา 112 รวมถึงท่าทีของนานาชาติต่อกรณีดังกล่าว เพื่อที่ท่านผู้อ่านจะได้พินิจพิจารณาว่าเหตุใดเราจึง ‘ควรแก้’ หรือ ‘ไม่ควรแก้’ กฎหมายมาตรานี้

ฝ่ายฝ่ายที่เห็นด้วย
          "เชื่อว่า ท่านเองคงอึดอัด ถึงได้ปรารภออกมาเมื่อ 4 ธันวาคม 2548 และบทลงโทษค่อนข้างรุนแรงไป เป็นทั้งอาญาและลงโทษ 10-20 ปี ซึ่งเมื่อถึงท่านแล้ว ก็จะอภัยโทษ แต่ความเดือนร้อนมาถึงท่าน คงแก้ไม่ได้แล้ว และยิ่งเป็นกฎหมายท่านไปพัวพันไม่ได้ ไม่อยู่ฐานะจะพูดว่าจะแก้อะไร แต่อาจจะทำได้เพียงปรารถ หรือทำได้ตามพระราชอำนาจนอกเหนือรัฐธรรมนูญ คือปรึกษา กรณีรัฐบาลถาม ให้กำลังใจ และเตือนสติ เท่านั้น ส่วนจะทำหรือไม่ทำ ท่านบังคับไม่ได้"[2] อานันท์ ปัญยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี
          “กฎหมายมาตรานี้ให้โทษมากกว่าให้คุณ เพราะมีปัญหาทั้งการตีความกฎหมาย การร้องทุกข์กล่าวโทษ และอัตราโทษที่รุนแรงเกินไป ...วิธีการรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ดีที่สุดคือการยึดหลักทางสายกลางและความโปร่งใส”[3] สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยาม
          “เท่าที่ค้นคว้า ไม่มีประเทศไหนรุนแรงเท่าเรา เมื่อเร็วๆนี้ผมก็ค้นเจอและอ้างอิงไปยังข้อเสนอว่าที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เขาปรับแค่400-600ยูโร และดูความร้ายแรงว่าจะสมควรลงโทษหรือไม่ คือไม่ใช่แค่ว่าคุณทำผิด ผมทำผิด ทำอย่างเดียวกันแล้วโทษจะเท่ากันนะ แต่ดูว่าคุณทำผิดนั้นมีอะไรที่เป็นแรงจูงใจคุณ มีอะไรเป็นแรงผลักดัน หลักในการลงโทษคือให้เหมาะสมกับแต่ละคน ลองไปถามนักนิติศาสตร์ดูว่าโทษระยะสั้นสมควรใช้หรือไม่ ทุกคนตอบว่าไม่ควร แต่ทำไมถึงตัดสินจำคุกคุณจินตนา4เดือน อย่างในเยอรมันถ้าโทษต่ำกว่า4เดือนนี่ไม่ใช้เลย ถ้าจะใช้ก็ต่อเมื่อแสดงความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย อย่าลืมว่าคนเราบางทีมันก็ทำอะไรเกินเลยไป แต่มันไม่ได้ทำเพราะความชั่วร้าย”[4] ศ.ดร.คณิต ณ นคร ประธาน คอป.  
          “ในปัจจุบันนี้เราต้องคิดให้หนัก และไม่ควรอย่างยิ่ง ที่จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นปรปักษ์ กับระบอบประชาธิปไตย  ถือเป็นการทำร้ายสถาบันกษัตริย์โดยตรง ขณะที่สัดส่วนการลงโทษจำคุก 3 ปีเป็นอย่างต่ำ และสูงสุด 15 ปีนั้นต่อ 1 กระทงความผิด นั้นแรงกว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะการนำมาตรา 112 ไปอยู่ในหมวดความมั่นคงแห่งรัฐ ทำให้จำเป็นต้องวินิจฉัยความผิดของคนกระทำผิดให้อยู่ในหมวดความมั่นคงแห่งรัฐด้วย  ดังนั้นส่วนนี้จึงเป็นปัญหาค่อนข้างมาก”[5] นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ

ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย 
           “ผมไม่เห็นด้วยที่จะมีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพราะการจะแก้ไขกฎหมายใด ควรคำนึงถึงประโยชน์ของสังคม ศีลธรรม วัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ ด้วย อย่างไรก็ตามขณะนี้ประเทศไทยเกิดความสับสนระหว่างความบกพร่องของกฎหมายและความบกพร่องของการบังคับใช้กฎหมาย สำหรับมาตรา 112 เช่นเดียวกันที่ไม่ได้มีความบกพร่องจากตัวกฎหมาย แต่เป็นเพราะระบบยุติธรรมที่มีฐานะเป็นผู้นำกฎหมายมาบังคับใช้มากกว่า” ถาวร เสนเนียม รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ 
          “ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เห็นว่าไม่ควรแก้ เพราะปัญหาใหญ่ไม่ได้อยู่ที่ตัวบทกฎหมาย แต่อยู่ที่การบังคับใช้ การจะแก้ตัวบทโดยไม่แก้การปรับใช้ไม่ได้ สำหรับตัวเองเห็นด้วยกับข้อเสนอบางข้อของคณะนิติราษฎร์บางประเด็นอย่างเรื่องการลดโทษ และให้มีคนกรองหรือมีผู้ฟ้อง อาจะเป็นสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง หรือกระทรวงยุติธรรมก็ได้ แต่ไม่เห็นด้วยที่คณะนิติราษฎร์เสนอให้มีการแยกความผิดต่อพระมหากษัตริย์ ออกจากความผิดต่อพระราชินีและรัชทายาทออกจากกัน เพราะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ.
          “แล้วมาคิดทำไมเรื่องมาตรา 112 ผมไม่เห็นด้วย ผมชัดเจนมาตลอด ไปเปลี่ยนแปลงทำไม ก็ดีอยู่แล้ว พวกไม่มีงานทำหรอ ”ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี
          “กฎหมายอาญามีตั้งกี่ร้อย กี่พันมาตรา ทำไมจำเพาะเจาะจงถึงต้องแก้อันนี้ กฎหมายคือกฎหมาย ถ้าเราไม่ทำผิด เขาก็อยู่ในกระดาษเท่านั้นเอง ก็อย่าทำผิดก็เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายอาญา หรือกฎหมายอะไรต่าง ๆ เราต้องแก้ด้วยหรือ หากเราไม่ไปฆ่าใคร ก็คงไม่มีใครมาจับไปขังเข้าคุก แต่ตราบใดที่เราทำผิดกฎหมายนั้นถึงออกมาใช้ได้ ซึ่งเหมือนกันหมดเมื่อ 2-3 วัน ที่ผ่านมา เพื่อนมาเล่าให้ฟังมีคนแต่งโคลงกลอนล้อประธานาธิปดี ถูกติดเข้าคุกเลย ซึ่งตนก็ไม่รู้ว่าเป็นมาตราอะไร ของฝรั่งเขา ตนไม่ได้สนใจอะไรหรอก แต่เขาก็โดนลงโทษ ที่ไหนในโลกนี้เขาก็มีกันทั้งนั้น”  ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
          “ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ เป็นบทบัญญัติ  ที่ปกป้องพระเกียรติยศของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขของประเทศ เฉกเช่นเดียวกับประมุขของรัฐต่างประเทศ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓๓ แห่งกฎหมายนี้ และเป็นหลักสากลที่นานาอารยประเทศให้การปกป้องประมุขของประเทศในหลักการเดียวกัน”คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 

ปฏิกิริยาของนานาชาติ 
          “สถานะของไทยขณะนี้เสื่อมถอยไปมาก ในสายตานานาชาติ ซึ่งปัจจัยหนึ่งมาจากอัตราโทษที่รุนแรง และจำคุกเป็นเวลานาน ซึ่งส่วนมากมาจากคดีหมิ่นสถาบัน เป็นเรื่องที่ชาวโลกไม่สามารถเข้าใจได้ อาทิ กรณีคดีอากง บทลงโทษรุนแรงกว่า เมื่อเทียบกับคดีอาชญากรรม คดียาเสพติด เมื่อเทียบกันแล้วไม่สมเหตุสมผลผมมองว่ารัฐบาลและศาลยุติธรรมควรปฎิรูปกฎหมาย เพื่อลดอัตราการลงโทษในคดีหมิ่นสถาบัน เพราะที่ผ่านมาการตัดสินในคดีหมิ่นสถาบันมีการดึงเอาเหตุทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นการตัดสินของศาลต้องมีเหตุผลที่อธิบายได้ อดีตไทยเคยมีเสรีภาพทางสื่อออนไลน์มากที่สุด แต่ระยะหลังมีการปิดกั้น ซึ่งกติการะหว่างประเทศกำหนดให้สังคมประชาธิปไตย ควรมีการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นให้น้อยที่สุด แต่ไทยกลับทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม" นายแบรด อดัมส์ ประธานองค์การสิทธิมนุษยชนภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก(ฮิวแมนไรทส์วอทช์)
          “กฏหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มีความคลุมเครือและไม่ชัดเจน ประกอบกับบทลงโทษที่สูงเกินความเหมาะสม จึงจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิด้านเสรีภาพการแสดงออก ยังระบุว่า เขายินดีที่จะให้ความช่วยเหลือ โดย “มีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์กับรัฐบาลไทย และคณะกรรมการปฏิรูปกฏหมาย ผู้ซึ่งมีหน้าที่ทำการปฏิรูปกฎหมายไทยเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล” แฟรงค์ ลา รู ผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านเสรีภาพด้านการแสดงออก
          "การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปในทางที่ผิดในทางการเมืองนั้นมีส่วนสัมพันธ์กับสภาวะเสื่อมถอยของสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย การใช้อำนาจตรวจสอบ การเซ็นเซอร์ตัวเอง และข้อกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดีเป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกอย่างรุนแรง" ดร. เควิน ฮิววิสัน ศาสตราจารย์ด้านเอเชียศึกษาแห่งมหาวิทยาลัย นอร์ทแคโรไลนา
          “การเสียชีวิตของนายอำพลเป็นเครื่องเตือนใจแก่ทางการไทย ถึงผลกระทบที่น่าเศร้าและโหดร้ายของการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รวมถึงการปฏิเสธการให้ประกันอย่างเป็นระบบ ...รัฐบาลไทยควรให้ความสนใจแก่การเรียกร้องที่มากขึ้นของประชาชนไทยและประชาคมนานาชาติ เพื่อการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล หรือยกเลิกไป”Souhayr Belhassen ประธานองค์กร FIDH

แนวคิดพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตย
การที่เราจะเป็นบุคคลในสังคมประชาธิปไตยยังต้องรู้หลักการเป็นพลเมืองที่ดี ในสังคมประชาธิปไตย การอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย สมาชิกทุกคนจะต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนทั้งต่อตนเอง ต่อครอบครัวชุมชน สังคมและประเทศชาติ รู้จัก  การทำงานร่วมกันมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในกิจกรรมทางสังคม ดูแลรักษาสาธารณประโยชน์ สิ่งแวดล้อมของชุมชนและประเทศชาติ นำหลักคุณธรรมมาใช้  ในกระบวนการทางประชาธิปไตย  ซึ่งถ้าทุกคนตระหนักถึงความสำคัญและปฏิบัติตน เป็นพลเมืองที่ดีทั้งต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติแล้ว ย่อมเป็นสิ่งจรรโลงให้การปกครองระบอบประชาธิปไตย มีความมั่นคงยืนนานตลอดไปและอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่าง  มีความสงบสุข ซึ่งมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
1.            ต้องเป็นบุคคลที่เคารพกฎหมายและปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม
2.            เป็นบุคคลที่เคารพในสิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น
3.            เป็นบุคคลที่มีเหตุผลและรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น
4.            เป็นบุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน ปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม
5.            เป็นบุคคลที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
แนวทางปฏิบัติตนเป็นคนดี
1.            ความมีเหตุผล
2.            การตกลงกันอย่างสันติวิธี ประนีประนอมและอดกลั้น
3.            การเคารพซึ่งกันและกัน
4.            ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน
5.            การปฏิบัติตนตามกติกาของกลุ่มทั้งในระดับกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
6.            การวางแผนการปฏิบัติงานและการติดตามงานอย่างเป็นระบบ


การพึ่งพาอาศัยกัน




การพึ่งพาอาศัยกัน
การพึ่งพา  การแข่งขัน  การขัดแย้ง  และการประสานประโยชน์กันเป็นปกติในวิสัยของมนุษยชาติ  เนื่องจากสังคมมนุษย์ได้พัฒนาขึ้น มาจากพื้นฐานที่แตกต่างกันทั้งทางด้านเชื้อชาติ  เผ่าพันธุ์ สิ่งแวดล้อม  ผลประโยชน์  ความเชื่อ  และวัฒนธรรมประเพณี  จึงทำให้เกิดการรวมกลุ่มกันของมนุษย์ที่อยู่ในโลก  และ  การร่วมมือกันระหว่างประเทศ  เพื่อประโยชน์ของประชากรของแต่ละประเทศ  ซึ่งองค์กร ความร่วมมือทางเศรษฐกิจก็จะเป็นรูปแบบหนึ่งของการพึ่งพากัน  และการประสานประโยชน์ ร่วมกัน  ซึ่งผลขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามารถสรุปได้ดังนี้
ความขัดแย้ง    
            สาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ความขัดแย้งของประเทศต่างๆได้แก่  การแข่งขันกันทางอาวุธ  และความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์และสังคมวัฒนธรรม  ตลอดจนผลประโยชน์ทางด้าน เศรษฐกิจ  ซึ่งความขัดแย้งทางด้านเศรษฐกิจ  เกิดมาจากการที่แต่ละประเทศมีทรัพยากร เพื่อการผลิตสินค้าและบริการที่ไม่เหมือนกัน และการจัดสรรทรัพยากรของแต่ละประเทศ มีจุดมุ่งหมายที่ต่างกัน  รวมทั้งการมีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด   จึงเป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้ง กันในระหว่างประเทศได้  ตลอดจนอุดมการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ  ผู้นำประเทศของแต่ละประเทศ ที่ต้องการรักษาความมั่นคงให้เกิดขึ้นแก่ประเทศตน  และทำให้ประชาขนของตนได้กินดีอยู่ดี  แต่โดยทั่วไปแล้ว  ประเทศต่างๆย่อมมีความอุดมสมบูรณ์  และทรัพยากรที่ส่งเสริมเศรษฐกิจ ไม่เท่าเทียมกัน  และไม่เพียงพอต่อความต้องการ  จึงทำให้มีการใช้กำลังเข้าบุกรุก  ขับไล่  และละเมิดอธิปไตยของประเทศอื่น  เพื่อตนจะได้เข้าครอบครองความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร นั้น  อันจะช่วยให้ประชาชนของประเทศตนได้อยู่ดีกินดี  ทำให้เกิดความขัดแย้ง  และเกิดกรณี พิพาทขึ้น  ตัวอย่างเช่น สงครามระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนี  อันมีสาเหตุมาจากการแข่งขันกัน เข้าไปครอบครองดินแดนอัลซาสและลอเรน  ซึ่งเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่เหล็ก และถ่านหินที่จำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม สงครามในครั้งนี้นับว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไป สู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1  สงครามอ่าวเปอร์เซียระหว่างอิรักและกองกำลังสหประชาชาติ  ในกรณีที่อิรักเคลื่อนกำลังเข้ายึดครองคูเวต  ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันจำนวนมหาศาลในเอเชีย ตะวันตกเฉียงใต้  เป็นต้น
            นอกจากนี้  ยังต้องการดำรงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของประเทศ  ซึ่งได้แก่  ความอยู่รอด  ความมั่นคง  และศักดิ์ศรีของชาติ  เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องปกป้อง  คุ้มครอง  และรักษาไว้  เพื่อให้ประชาชนของประเทศมีความปลอดภัย  มีสันติสุข  และอยู่ดีกินดี  หากมีเหตุการณ์ ที่บ่งชี้ว่าจะกระทบกระเทือนผลประโยชน์ดังกล่าว  รัฐบาลของประเทศนั้นๆก็จะต้องมีปฏิกิริยา ต่อต้านและตอบโต้  ซึ่งย่อมทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้ ซึ่งความขัดแย้งทางด้านทรัพยากร ที่เป็นปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ  ก่อให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ  เพื่อเป็นการลดปัญหาความขัดแย้งทางด้านทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด  และเกิดประโยชน์ แก่ประชาชนภายในประเทศมากที่สุด
การประสานประโยชน์       
            การประสานประโยชน์เป็นการร่วมมือเพื่อรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของตน  ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการระงับกรณีพิพาทที่มาจากการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  การประสานประโยชน์มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและสังคม  อันเป็นการรักษาผลประโยชน ์ร่วมกันของทุกฝ่าย  ซึ่งจะสามารถหลักเลี่ยงความขัดแย้ง  ร่วมมือกันแก้ปัญหาที่ต่างก็เผชิญอยู่ และพึ่งพาอาศัยและแลกเปลี่ยนความรู้กันมากขึ้นทาง ด้านเทคโนโลยีการผลิต  กระบวนการ ผลิต  ความรู้ทางด้านการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด  ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการผลิต สินค้าและบริการ  เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนภายในประเทศ  ซึ่งการประสาน ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจจะอยู่ในรูปของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ  เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน  รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ของประเทศต่างๆให้เกิดประโยชน์มากที่สุด  เช่น  การค้าแลกเปลี่ยนปัจจัยการผลิตกันระหว่าง ประเทศ  เป็นต้น  และการร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจยังเป็นการลดความขัดแย้งกันในทาง เศรษฐกิจและเป็นกำลังที่สำคัญ ในการต่อรองด้านการค้าระหว่างประเทศ  ซึ่งประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญ  ได้แก่  สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งเป็นองค์กรที่รักษาผลประโยชน์แก่ประเทศ สมาชิกในด้านเศรษฐกิจ  ซึ่งประเทศไทยก็เป็นสมาชิกองค์กรดังกล่าว  นอกจากนี้  ประเทศไทยยังเข้าร่วมกับองค์กรทางเศรษฐกิจขององค์การสหประชาชาติ  ทำให้ไทยได้รับ ความช่วยเหลือในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ  เพื่อยกประดับความเป็นอยู่ของประชาชน  ได้รับ ความช่วยเหลือทั้งด้านการเงิน  ด้านบุคลากร  เทคโนโลยี  และวิธีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของไทย  นอกจากนี้  ไทยยังได้อาศัยองค์การต่างๆเหล่านี้  เช่นองค์การการค้าโลก  เป็นเวทีที่จำนะเสนอหรือเรียกร้องให้การค้าระหว่างประเทศเป็นธรรม  หรือลดการเอารัด เอาเปรียบไทยได้บ้าง และเมื่อไทยประสบกับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงใน พ.ศ. 2540 – 2541  ไทยก็ได้อาศัยเงินช่วยเหลือที่องค์การการเงินระหกว่างประเทศให้กู้ยืมมา  ดังนั้น  การประสานประโยชน์กันในรูปขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจจะทำให้ประเทศสมาชิกได้รับ ผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน  ตลอดจนการส่งเสริมให้ประเทศมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและ ความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศสมาชิก
การพึ่งพากัน    
การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของประเทศต่างๆในด้านการรวมตัวเป็นองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจก็ เนื่องมาจากความมั่นคงและสวัสดิการของประเทศ  ซึ่งการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วในภาวะเศรษฐกิจที่มีการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย  และเน้นภาคธุรกิจหรือ ผลผลิตทางภาคอุตสาหกรรม  ยิ่งกว่านั้น  เมื่อกระบวนการผลิตใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น  ย่อมทำให้ สินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว  ซึ่งระบบการค้า  มักจะถือกันว่าเป็นรูปแบบ ของกระบวนการ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ  อัตราส่วนของการค้าต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวมประชาชาติ  ขยายตัวมากขึ้นย่อมหมายถึงประเทศนั้น  มีการพึ่งพิงระบบการค้า ระหว่างประเทศมากขึ้นด้วย  ทำให้การเจริญเติบโตของประเทศต้องอาศัยการพึ่งพากันทางการค้า และการลงทุน  ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ  ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยน เทคโนโลยีและทรัพยากรทางเศรษฐกิจ  เพื่อให้ประเทศสมาชิกในองค์กรได้รับผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน  ซึ่งสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆได้  เช่น  ความร่วมมือกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้  ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมกลุ่มดังกล่าว  และได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่มในด้าน การพึ่งพาอาศัยกัน  เช่น แต่ละประเทศจะผลิตสินค้าหรือใช้ปัจจัยการผลิตที่ประเทศตนเอง สามารถผลิตได้  กล่าวคือ  ประเทศไทยผลิตเกลือหินและโซดาแอช  อินโดนีเซียและ มาเลเซียผลิตปุ๋ยยูเรีย สิงคโปร์ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล  และฟิลิปปินส์ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต  ซึ่งแต่ละประเทศมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ทำให้ส่งสินค้าออกไปขายยังต่างประเทศได้มากขึ้น  ทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวมากขึ้นด้วย  ดังนั้นการพึ่งพาอาศัยกันในรูปของการร่วมมือทางเศรษฐกิจ ของแต่ละประเทศ  ก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่าง จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด  และองค์กรที่มีความเข้มแข็งสามารถต่อรองทางการค้ากับประเทศต่างๆได้
การแข่งขัน    
            ในสภาวการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน  ประเทศต่างๆมีการแข่งขันทางด้านการค้าระหว่าง ประเทศ  และการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างตลาดให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน  ตลอดจนความ ได้เปรียบของประเทศที่สามารถผลิตสินค้าที่มีปริมาณน้อย  แต่มูลค่าของสินค้าสูง  ซึ่งจะเป็น สินค้าเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและสินค้าอุตสาหกรรม  เมื่อเปรียบเทียบกับบางประเทศ ที่มีผลผลิตส่งออกไปขายต่างประเทศในรูปของสินค้าเกษตรกรรม  ซึ่งมีมูลค่าน้อยทำให้เกิดความ ได้เปรียบเสียเปรียบขึ้น  จึงเป็นต้นเหตึให้เกิดการรวมตัวหรือรวมกลุ่มทางการค้าขึ้น  โดยจัดตั้งเป็นองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่อที่จะได้มีอำนาจต่อรองทางการค้า กับประเทศคู่ค้า  ซึ่งประเทศใดมิได้รวมกลุ่มทางการค้า  ย่อมทำให้ประเทศนั้นไม่สามารถแข่งขัน กับประเทศอื่นๆได้  ทำให้ประเทศมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจล่าช้าไม่ทันกับประเทศอื่น  นอกจากนี้ความล้าหลังของผลผลิตและความไม่ทันยุคสมัยก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องมีการแข่งขันระหว่างประเทศ  เช่น  ประเทศสหรัฐอเมริกาในทศวรรษที่ 1980 ที่ผู้ผลิตรถยนต์ภายในประเทศไม่สามารถ แข่งขันรถยนต์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ  อันเนื่องมาจากมูลค่าของรถยนต์ต่างประเทศ มีมูลค่าต่ำกว่าภายในประเทศ  เป็นต้น  ดังนั้น  การร่วมมือกันในการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจจะช่วยให้ประเทศสมาชิกสามารถ แข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ  และมีการแลกเปลี่ยนผลผลิตภายในองค์กร  ทำให้ประเทศสมาชิกไม่ต้องพึ่งพาสินค้าจากประเทศนอกองค์กร  ทั้งยังสามารถต่อรองการค้ากับประเทศคู่ค้าได้  นอกจากนี้การรวมตัวทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านการค้า  ส่งผลให้เกิดสินค้าและบริการใหม่ๆ  เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภคได้หลากหลายมากขึ้น  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคเกิดการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
คุณธรรมและการรู้เท่าทัน    
            ในยุคเศรษฐกิจปัจจุบันมีการแข่งขันทางการค้าในระดับสูง  ทำให้แต่ละประเทศต้องหา นโยบายและมาตรการต่างๆในการแข่งขันการค้ากับต่างประเทศ  ซึ่งบางมาตรการส่งผลกระทบ ต่อประเทศอื่นๆ  ทำให้ประเทศเหล่านั้นไม่สามารถแข่งขันหรือทำการค้าได้  เช่น  มาตรการ กำหนดกำแพงภาษี  ซึ่งเป็นการกีดกันสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ  และทำให้สินค้ามี ราคาสูงขึ้น  ไม่สามารถขายภายในประเทศได้ เป็นต้น ซึ่งเป็นการเอารัดเอาเปรียบ กับประเทศเหล่านั้น  เพราะบางประเทศส่งสินค้าออกขายยังต่างประเทศ ในรูปของสินค้าภาคเกษตร  แต่บางประเทศส่งสินค้าออกขายยังต่างประเทศในรูปของสินค้า ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีมูลค่าที่สูงกว่า  ย่อมเป็นการเอาเปรียบกับประเทศคู่ค้าที่เป็น สินค้าเกษตรกรรม  ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ  โดยจัดตั้งเป็นองค์กร การร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นการช่วยเหลือประเทศที่เสียเปรียบทางการค้า  ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในการค้าระหว่างประเทศ  และมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในการร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก  นอกจากนี้ยังช่วยให้การค้าระหว่างประเทศ มีศักยภาพมากขึ้น  กล่าวคือ  เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการมีความก้าวหน้า และทันสมัยมากขึ้น  ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าลดลง  เมื่อประเทศต่างๆมีการร่วมมือทาง เศรษฐกิจกันแล้วย่อมเกิดการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีซึ่งกันและกัน  ทำให้ประเทศสมาชิกมี การผลิตสินค้าและบริการที่สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆที่อยู่นอกองค์กรได้  ส่งผลให้ เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกมีการเจริญเติบโตมากขึ้นตามไปด้วย

ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล- ปาเลสไตน์ พ.ศ. 2552


ค่านิยมและการสัมผัสรับรู้ (Values & Perceptions)



ค่านิยมและการสัมผัสรับรู้ (Values & Perceptions)

            ค่านิยม (Value) ความหมายทางด้านการบริหาร หมายถึง เป็นความเชื่อทีถาวรเกี่ยวกับสิ่งซึ่งเหมาะสม
 และไม่ใช่สิ่งซึ่งแนะนำพฤติกรรมของพนักงานให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ค่านิยมอาจอยู่ในรูปของการกำหนดความคิดเห็น (Ideology) 
และเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในแต่ละวัน


ประเภทของค่านิยม
Phenix ใช้หลักความสนใจและความปรารถนาของบุคคลแบ่งค่านิยมออกเป็น 6 ประเภท คือ
1. ค่านิยมทางสังคม (Social Values) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้เกิดความรักความเข้าใจและ ความต้องการของอารมณ์ของบุคคล
2. ค่านิยมทางวัตถุ (Material Values) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้ชีวิตร่างกายของคนเรา สามารถดำรงอยู่ได้ต่อไป ได้แก่ ปัจจัยสี่ คืออาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า และยารักษาโรค
3. ค่านิยมทางความจริง (Truth Values) เป็นค่านิยมเกี่ยวกับความจริงซึ่งเป็นค่านิยมที่ สำคัญยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการความรู้ และนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการค้นหากฎของธรรมชาติ
4. ค่านิยมทางจริยธรรม (Moral Values) เป็นค่านิยมที่ทำให้เกิดความรับผิดชอบชั่วดี
5. ค่านิยมทางสุนทรียะ (Aesthetic Values) เป็นความซาบซึ้งใจในความดีและความงาม ของสิ่งต่างๆ
6. ค่านิยมทางศาสนา (Religious Values) เป็นค่านิยมที่เกี่ยวกับความปรารถนาความ
สมบูรณ์ของชีวิต รวมทั้งความศรัทธา และการบูชาในทางศาสนาด้วย จากประเภทต่างๆ ของค่านิยมข้างต้น ค่านิยมความรัก คู่ครอง และการแต่งงาน ที่ศึกษาใน การวิจัยครั้งนี้เป็นค่านิยมที่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพทางสังคมวัยรุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ค่านิยมที่ศึกษาเป็นค่านิยมที่ศึกษาเป็นค่านิยมทางสังคมและทางจริยธรรม

หน้าที่ของค่านิยม
สุนทรี โคมิน และสนิท สมัครการ กล่าวถึง หน้าที่ของค่านิยม 7 อย่างไว้ดังนี้
a.ค่านิยมจูง (Lead) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้บุคคลได้แสดงจุดยืนของตนในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับสังคมออกมาอย่างชัดเจน
b.ค่านิยมเป็นตัวช่วยกำหนด (Predispose) ให้บุคคลนิยมอุดมการณ์ทางการเมืองบางอุดมการณ์มากกว่าอุดมการณ์อื่น
c.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ช่วยนำ (Guide) การกระทำให้ทำบุคคลประพฤติ และแสดงตัวต่อผู้อื่นที่ประพฤติเป็นปกติอยู่ทุกวัน
d.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ใช้ในการประเมิน (Evaluate) ตัดสินการชื่นชมยกย่อง การตำหนิ ติเตียนตัวเอง และการกระทำของผู้อื่น
e.ค่านิยมเป็นจุดกลางของการศึกษา กระบวนการเปรียบเทียบกับผู้อื่น
f.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ถูกใช้ในการชักชวน (Persuade) หรือสร้างประสิทธิผลต่อคนอื่น
g.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ถูกใช้เป็นฐาน (Base) สำหรับกระบวนการให้เหตุผลต่อความนึกคิด และการกระทำของตน


            การรับรู้ คือ การตีความหรือแปลความหมายข้อมูล (กระแสประสาท) จากการสัมผัส ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจว่าสิ่งที่มาสัมผัสนั้นคืออะไร เป็นอย่างไร ในการตีความหรือแปลความหมายนี้ต้องอาศัยการจัดหมวดหมู่ของสิ่งเร้า ประสบการณ์และการเรียนรู้ที่ผ่านมา อารมณ์ และแรงจูงใจ เช่น เรามองเห็นจุดดำ ๆ จุดหนึ่งอยู่ลิบ ๆ บนท้องฟ้า (การสัมผัส) เรายังไม่รู้ว่าเป็นอะไร ต่อเมื่อจุด ๆ นั้นเคลื่อนที่เข้ามาใกล้ จนมองเห็นชัด เราจึงรู้ว่าที่แท้จริง ก็คือนกตัวหนึ่ง (การรับรู้) นั่นเอง หรือถ้าเราเห็นรูป เราจะรับรู้ทันทีว่า คือรูป สี่เหลี่ยม ( ) เพราะเราจัดหมวดหมู่โดยพิจารณาถึงรูปที่สมบูรณ์ของ นั่นเอง การจัดหมวดหมู่ของสิ่งเร้ามีหลายลักษณะเช่น จัดโดยอาศัยความคล้ายคลึงกัน จัดโดยอาศัยความต่อเนื่อง เป็นต้น การจัดหมวดหมู่ของสิ่งเร้านี้ช่วยให้เราแปลความหมาย (รับรู้) ได้ถูกต้องรวดเร็วขึ้น การรับรู้ของคนเรามีหลายชนิด ดังต่อไปนี้

            1. การได้ยิน เราสัมผัสคลื่นเสียงทางหูแล้วแปลความหมายของกระแสประสาทที่เกิดขึ้น จนรับรู้ว่าเป็นเสียงอะไร และเรายังสามารถบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทางของแหล่งกำเนิดเสียงได้อีกด้วย

            2. การมองเห็น เราสัมผัสคลื่นแสงจากสิ่งเร้าต่าง ๆ ทางนัยน์ตาแล้วแปลความหมายของกระแสประสาทที่เกิดขึ้นจนรับรู้ว่าสิ่งเร้าที่เห็นนั้นคืออะไร

            3. การได้กลิ่น เราสัมผัสโมเลกุลของไอที่ระเหยมาจากสิ่งเร้าต่าง ๆ ทางจมูกแล้วแปลความหมายของกระแสประสาทที่เกิดขึ้นจนรับรู้ว่าเป็นกลิ่นอะไร เหม็น หอม เน่า หรือ กลิ่นเครื่องเทศ

            4. การรู้รส เราสัมผัสสิ่งเร้าบางอย่างโดยลิ้น แล้วแปลความหมายของกระแสประสาทที่เกิดขึ้นจนรับรู้ว่าสิ่งเร้านั้นมีรสอะไร หวาน เค็ม หรือขม เป็นต้น

            5. การรับรู้ทางผิวกาย เราสัมผัสสิ่งเร้าที่มากระตุ้นผิวกาย แล้วแปลความหมายของกระแสประสาทที่เกิดขึ้นจนรับรู้เราว่าสัมผัสอะไร นอกจากนี้ยังรู้ถึงอุณหภูมิและความเจ็บปวดที่เกิดจากการสัมผัสอีกด้วย

            6. การรับรู้ความรู้สึกภายในของร่างกาย ได้แก่การรับรู้ตำแหน่งหรือการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ โดยไม่ต้องอาศัยอวัยวะสัมผัสทั้ง 5 ข้างต้น เช่น ถึงแม้หลับตาเราก็สามารถตักอาหารใส่ปากได้ถูกต้อง เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากเรารับรู้ว่าปาก แขน มือ ฯลฯ ของเราอยู่ตำแหน่งใดเราจึงทำเช่นนั้นได้ การรับรู้นี้เกิดจากการแปลความหมายของสภาวะกล้ามเนื้อ เอ็น หรือข้อต่อต่าง ๆ ขณะยืดตัว หดตัวหรือคลายตัว เป็นสำคัญ การรับรู้ความรู้สึกภายในของร่างกายอีกชนิดหนึ่ง คือการทรงตัว ทำให้เราทราบว่าร่างกายเรากำลังอยู่ท่าไหนอยู่ในตำแหน่งที่สมดุลหรือไม่ ถ้าไม่ก็พยายามปรับเข้าสู่สมดุลต่อไป มิฉะนั้นจะรู้สึกคลื่นไส้ เวียนศีรษะ หรืออาเจียนได้

เมื่อคุณดูวิดิโอนี้คุณคิดอย่างไร?
ค่านิยมของคนสมัยนี้ต่างจากคนสมัยก่อนมิเช่นนั้นคงไม่เกิดเหตุการณ์เช่นในคลิป ถ้าเด็กสมัยนี้รู้จักรักนวลสงวนตัวและไม่เชื่อใจคนที่เราไม่รู้จักเรื่องแบบนี้คงไม่เกิดขึ้นคุณคิดไง

"การพัฒนาอย่างยั่งยืน" (Sustainable Development)



"การพัฒนาอย่างยั่งยืน" (Sustainable Development)

ที่มาคอลัมน์ ล่องคลื่นโลกาภิวัตน์  โดย สฤณี อาชวานันทกุล www.fringer.org  ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3987 (3187)
นับวันผลเสียของวิถีการพัฒนาแบบ "สุดโต่ง" ที่เน้นเรื่องอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเพียงมิติเดียว โดยไม่สนใจมิติอื่นๆ โดยเฉพาะคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ก็ยิ่งปรากฏให้เราเห็นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ในแทบทุกประเทศในโลก เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ฝ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ รัฐบาล และองค์กรโลกบาลหลายแห่งหันมาให้ความสำคัญ กับแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" (sustainable development) มากขึ้นเรื่อยๆ
ในรายงานพัฒนามนุษย์ (Human Development Report) ประจำปี ค.ศ.1996 เครือข่ายเพื่อการพัฒนาระดับโลก แห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme หรือยูเอ็นดีพี) ระบุว่า "คุณภาพ" ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสำคัญกว่า "อัตรา" การเจริญเติบโตดังกล่าว ยูเอ็นดีพีขยายความว่า แบบแผนการเจริญเติบโตที่ทำความ เสียหายในระยะยาวมีทั้งหมด 5 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ การเติบโตที่ไม่สร้างงานให้กับประชากร (rootless growth), การเติบโตที่ทิ้งห่างกระแสประชาธิปไตย (voiceless growth), การเติบโตที่กดทับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจนสิ้นสลาย (rootless growth), การเติบโตที่ทำลาย สิ่งแวดล้อม (futureless growth), และการเติบโตที่ประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือคนรวยเท่านั้น (ruthless growth)
ยูเอ็นดีพีสรุปว่า การเติบโตทั้ง 5 รูปแบบดังกล่าวนั้นล้วนเป็นการเติบโตที่ "ทั้งไม่ยั่งยืน และไม่สมควรจะยั่งยืน"
แนวคิด "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ไม่ใช่เรื่องใหม่ วัฒนธรรมมากมายในประวัติศาสตร์มนุษย์ รวมทั้งวัฒนธรรม ชุมชนในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ได้มองเห็นความจำเป็นของการสร้าง ความสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่เป็นเรื่อง "ใหม่" ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ คือความพยายามที่จะนิยาม สร้างองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ และแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของแนวคิดนี้ในบริบทของสังคมอุตสาหกรรมและข้อมูลข่าวสารระดับโลก
เราอาจสาวรากของแนวคิด "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ไปถึงหนังสือเรื่อง "Silent Spring" (ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบงัน) โดย Rachel Carson ตีพิมพ์ครั้งแรก ปี 1962 ตีแผ่ผลกระทบของยาฆ่าแมลง ที่เรียกว่า DDT ต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ด้วยข้อมูลที่หนักแน่นน่าเชื่อถือ ทำให้เรื่องนี้อยู่ในความสนใจของประชาชนอเมริกันอย่างกว้างขวาง และนำไปสู่การประกาศแบน DDT ในปี 1972 นักสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่ยกย่อง Silent Spring ว่าเป็น "จุดเปลี่ยน" ที่ทำให้คนจำนวนมาก หันมาตระหนักถึงความเกี่ยวโยงอย่างแนบแน่นระหว่างสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม
"การพัฒนาอย่างยั่งยืน" หมายความว่าอะไร และมีลักษณะอย่างไร ? วันนี้ผู้เขียนจะเก็บข้อความจากเนื้อหาในเว็บไซต์ Sustainability Development Gateway (SD Gateway-http://sdgateway.net/) มาเล่าสู่กันฟังดังต่อไปนี้ :
"การพัฒนาอย่างยั่งยืน" สำหรับแต่ละคนย่อมมีความหมายไม่เหมือนกัน เนื่องเพราะ "ระยะยาว" ของแต่ละคน อาจยาวสั้นแตกต่างกัน แต่นิยามที่คนนิยมอ้างอิงมากที่สุดมาจากรายงานชื่อ "อนาคตร่วมของเรา" (Our Common Future หรือที่รู้จักในชื่อ "รายงานบรุนด์ท์แลนด์" -the Brundtland Report) โดยรายงานดังกล่าว ระบุว่า "การพัฒนาอย่างยั่งยืน หมายถึงวิถีการพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของปัจจุบัน โดยไม่ลิดรอนความสามารถของคนรุ่นหลัง ในการตอบสนองความต้องการของพวกเขา"
เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ได้อยู่ที่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หากอยู่ที่การปรับปรุงคุณภาพชีวิต ของประชากรโลก ในทางที่ไม่เพิ่มระดับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกินศักยภาพของธรรมชาติ ที่จะผลิตมันให้มนุษย์ใช้อย่างไร้ขีดจำกัด การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องอาศัยความเข้าใจว่า การนิ่งเฉยไม่ทำอะไรเลยมีผลกระทบ และเราต้องหาหนทางใหม่ๆ ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเชิงสถาบันและพฤติกรรมของปัจเจกชน
แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนรุดหน้า ไปอย่างรวดเร็วตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ในปี 1992 ผู้นำนานาชาติที่มาพบกันในการประชุมสุดยอดแห่งโลก (Earth Summit) ในกรุงริโอ เดอ จาเนโรในบราซิล นำเค้าโครงของรายงานบรุนด์ท์แลนด์ไปสร้างสนธิสัญญาและแถลงการณ์เกี่ยวกับประเด็นหลักๆ ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การตัดไม้ทำลายป่า และความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ผู้เข้าประชุมยังได้ร่วมกันร่างแผนกลยุทธ์กว้างๆ เรียกว่า "Agenda 21" เพื่อใช้เป็นแผนที่สำหรับงานด้าน สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาในอนาคต หลังจากการประชุมสุดยอดครั้งประวัติศาสตร์ดังกล่าว ก็มีกลุ่มต่างๆ ตั้งแต่ธุรกิจ รัฐบาลท้องถิ่น ไปจนถึงองค์กรโลกบาลอย่างธนาคารโลก ที่นำแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปตีความ ต่อยอด และปรับใช้ในบริบทของตัวเอง จวบจนปัจจุบัน และยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
ถึงแม้ว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเป็นแนวคิดลื่นไหลที่วิวัฒนาการไปเรื่อยๆ ก็มีลักษณะสำคัญบางประการที่อยู่ภายใต้ เส้นความคิดหลายกระแส ได้แก่
1) ความเท่าเทียมกัน (equity) และความยุติธรรม (fairness) เป็นประเด็นสำคัญ การพัฒนาอย่างยั่งยืน อยากตอบสนองความต้องการของคนจนและประชากรผู้ด้อยโอกาส ไอเดียเรื่องความเท่าเทียมกัน และความยุติธรรมเป็นส่วนประกอบสำคัญในนิยามของ "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" เพราะตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงที่ว่า ถ้าเราละเลยผลกระทบจากการกระทำ ของเราต่อคนอื่นในโลกที่เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน เราก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายขึ้นกับตัวเองในอนาคตด้วย
เนื่องจากระบบเศรษฐกิจและนโยบายสาธารณะของเราส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากร เราจึงต้องเปลี่ยนแปลงระบบเหล่านี้ ความยุติธรรมหมายความว่า ประเทศแต่ละประเทศ ควรมีโอกาสในการพัฒนาตัวเองบนพื้นฐานของคุณค่าทางวัฒนธรรมและสังคมของตัวเอง โดยไม่ปฏิเสธว่าประเทศอื่นๆ ก็ล้วนมีสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน หนึ่งในความท้าทาย ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันคือ เราจะปกป้องสิทธิของคนที่ไม่มีสิทธิออกเสียงได้อย่างไร คนรุ่นหลังที่ยังไม่เกิดไม่สามารถออกความเห็น หรือปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขา ในกระบวนการตัดสินใจต่างๆ ของคนรุ่นปัจจุบัน ถ้าการพัฒนาจะยั่งยืนได้จริง เราจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของพวกเขาด้วย
2) มีมุมมองระยะยาว (long-term view) ภายใต้หลักความรอบคอบ (precautionary principle) "ระยะยาว" ยาวแค่ไหน ? ในสังคมตะวันตกยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การวางแผนของภาครัฐมองระยะเวลาเพียง 3-5 ปีเท่านั้น ปัจจุบัน "ระยะยาว" ในความหมายของ นักค้าหุ้นและนักค้าเงินคือระยะเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ ในขณะที่ชาวอินเดียนแดงในอเมริกาวางแผนสำหรับ "คนรุ่นที่ 7 นับจากนี้" พวกเขาวางแผนเป้าหมายและกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อคนรุ่นหลังอีกเจ็ดชั่วคน เท่ากับว่าวางแผนล่วงหน้าถึง 150 ปีทีเดียว สำหรับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้เชี่ยวชาญบางคนเสนอว่า ตราบใดที่คนรุ่นหนึ่งคิดถึงคนรุ่นต่อไป (ประมาณ 50 ปี) ก็แปลว่าคนทุกรุ่นจะได้รับการดูแล แน่นอนถ้าเรามองเห็นว่าเรื่องใดก็ตาม จะส่งผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคตที่ไกลกว่านั้น เราก็ควรจะวางแผนให้ยาวขึ้น ไม่มีคนรุ่นไหนสามารถการันตีผลลัพธ์ในอนาคตที่พยากรณ์ไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่มีคนรุ่นไหน ที่ควรทำเป็นมองไม่เห็นผลลัพธ์ที่พยากรณ์ได้
ในโลกที่เรารู้แล้วว่าทุกมิติมีความเกี่ยวโยงและส่งผลกระทบซึ่งกันและกันเพียงใด ปฏิสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนกำลังเร่งอัตราการเปลี่ยนแปลงและการก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในสถานการณ์เช่นนี้ หลักความรอบคอบช่วยแนะแนวให้เราได้ หลักการ ชุดนี้บอกว่า เมื่อกิจกรรมใดๆ ก็ตามเพิ่มขีดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หรือสุขภาพมนุษย์ เราควรต้องใช้มาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบ ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์อาจจะยังไม่สามารถพิสูจน์ความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุและผลได้ทั้งหมด
3) การคิดแบบเป็นระบบ (systems thinking) ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจในความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เป็นเวลานานกว่า 2 ศตวรรษแล้วที่เรารู้ว่า โลกนี้เป็นระบบปิดที่มีทรัพยากรจำกัด เมื่อนักสำรวจทำงานสำรวจผิวดิน และพื้นน้ำสำเร็จลง คนก็ค่อยๆ เข้าใจว่าโลกนี้ไม่มีทรัพยากร "ใหม่" เรามีโลกเพียงใบเดียว กิจกรรมทั้งหมดของเราเป็นเพียงส่วนเสี้ยวเดียวของระบบธรรมชาติที่ใหญ่ยิ่งกว่า เราต้องมองเห็นว่าระบบที่เดินด้วยน้ำมือมนุษย์ทั้งหมดนั้นอยู่ภายในระบบนิเวศที่ใหญ่กว่า ก่อนที่จะสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน กับสิ่งแวดล้อม และทำให้เรามั่นใจได้ว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์ จะอยู่รอดต่อไปในอนาคต
ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดที่มนุษย์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร น้ำ ไม้ เหล็ก ฟอสฟอรัส น้ำมัน และทรัพยากรอื่นๆ อีกหลายร้อยชนิด ล้วนมีขีดจำกัดทั้งในแง่ของแหล่งที่มาและแหล่งที่ไป (sink) แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนบอกเราว่า เราไม่ควรนำทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้ในอัตราที่เร็วกว่าความสามารถของเราในการผลิตทรัพยากรทดแทน และเราก็ไม่ควรทิ้งทรัพยากรธรรมชาติในอัตราที่เร็วกว่าอัตราที่ธรรมชาติจะสามารถดูดซับมันกลับเข้าไปในระบบ ถึงแม้ว่าปัญหาทรัพยากรร่อยหรอจะเป็นประเด็นกังวลหลักของนักสิ่งแวด ล้อมในอดีต วันนี้นักสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ เป็นกังวลเรื่องที่เราจะไม่เหลือแหล่งทิ้งทรัพยากรแล้วมากกว่า ปัญหาโลกร้อน รูในชั้นโอโซน และความขัดแย้งเรื่องการ ส่งออกขยะอันตราย ล้วนเป็นปัญหาที่เกิดจากการที่เราพยายามทิ้งทรัพยากร เร็วกว่าอัตราที่ธรรมชาติจะสามารถรองรับได้
การคิดแบบเป็นระบบผลักดันให้เราเข้าใจว่า ถึงแม้โลกจะมีเพียงใบเดียว มันก็เป็นโลกที่ประกอบด้วยระบบย่อย (sub systems) มากมายที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกัน และกัน ปัจจุบันการพัฒนาโมเดลต่างๆ เพื่ออธิบายระบบย่อยเหล่านี้ได้รุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง โมเดลเหล่านี้เป็นกรอบคิดที่เป็นประโยชน์สำหรับการเลือกดัชนีชี้วัดความคืบหน้าของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ระบบย่อยต่างๆ ในโลกล้วนเชื่อมโยงกันผ่านกระบวนการที่ภาษาวิทยาศาสตร์เรียกว่า "ห่วงโซ่ตอบกลับ" (feedback loop) อันสลับซับซ้อน วิทยาศาสตร์แขนงใหม่ที่ศึกษาความซับซ้อนของระบบต่างๆ บอกเราว่า ในระบบบางระบบ เหตุการณ์เล็กมากๆ อาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ขนาดใหญ่ที่รุนแรงและพยากรณ์ไม่ได้ล่วงหน้า ด้วยการ จุดชนวนซีรีส์เหตุการณ์ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้เรารู้แล้วว่าการปล่อยมลพิษในซีกโลกเหนือส่งผลให้ชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์กติกาบางลง และเร่งอัตราการเกิดมะเร็งผิวหนังในซีกโลกใต้ วิกฤตการเงินในเอเชียส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก และสงครามระหว่างชาติพันธุ์ในทวีปแอฟริกากลางก่อให้เกิดการอพยพขนานใหญ่ของประชากรไปยังบริเวณใกล้เคียง สร้างแรงตึงเครียดต่อระบบในประเทศเหล่านั้นจนถึงจุดแตกหัก เป็นชนวนให้เกิดวิกฤตและการอพยพต่อไปเป็นทอดๆ
ตั้งแต่ผู้นำโลกที่ร่วมประชุม Earth Summit ประจำปี 1992 ตกลงกันว่าจะร่วมมือกันผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้เกิดเป็นรูปธรรม ท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่าในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา แนวคิดนี้คืบหน้าไปมากน้อยเพียงใด มีกรณีใดบ้างเป็นความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมชัดเจน และมีกรณีใดบ้างที่ต้องนับว่าเป็นความล้มเหลว ?