วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล- ปาเลสไตน์ พ.ศ. 2552


ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล- ปาเลสไตน์ พ.ศ.  2552

ปัญหาปาเลสไตน์-อิสราเอลครั้งใหม่ จุดประทุการก่อการร้ายปี 2552 (1)

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสดามูฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน 

ทันทีที่ข่าวฝูงบินรบของอิสราเอลกระหน่ำโจมตีดินแดนฉนวน กาซาของปาเลสไตน์ (อาหรับจะอ่านว่า "ฟิลิสตีน) ในปลายปี 2551 (ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 300 คน) ถือว่าเป็นวันนองเลือดครั้งใหญ่ที่สุดของวิกฤตความขัดแย้งตะวันออกกลางที่ยืดเยื้อยาวนานกว่าหลายทศวรรษและจะส่งผลกระทบต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้งและสันติภาพของโลกตลอดปีใหม่ 2552 อย่างแน่นอน (ท่านคงจะเห็นภาพความสูญเสีย ความโกรธแค้น การประท้วงและปฏิกิริรยามากมายผ่านจอโทรทัศน์และโลกไซเบอร์) ลำดับปัญหาความขัดแย้งปาเลสไตน์-อิสราเอลโดยสังเขป
แผ่นดินปาเลสไตน์-อิสราเอลมีหลายชนชาติเข้ามาจับจองพื้นที่สร้างบ้านเมืองของตนเอง ไม่ว่าจะเป็น ชาวกันอาน (หรือ คันนาอัน) เป็นชนชาติอาหรับ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวปาเลสไตน์ (ในไบเบิลเรียกพื้นที่อาศัยของชาวกันอานว่า แผ่นดินกันอานหรือคันนาอัน) ชาวกิบบิโอน ชาวฟิลิสติน (ต่อมาชื่อฟิลิสตินนี้ได้แผลงมาเป็นชื่อ ปาเลสไตน์) 
ต่อมาเมื่อชนชาติยิว ซึ่งอพยพมาจากอียิปต์ เข้ามาดินแดนแถบนี้และเริ่มรบพุ่งแย่งชิงดินแดนจากชนพื้นเมืองที่อยู่มาแต่เดิม จนสร้างอาณาจักรอิสราเอลขึ้น แต่ต่อมาก็ได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นสองส่วน ตอนเหนือเรียกว่าอาณาจักรอิสราเอล ส่วนตอนใต้เรียกว่าอาณาจักรยูดาย 
ถัดจากนั้นดินแดนแถบนี้ก็ถูกปกครองโดยกลุ่มชนหลายเผ่าพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นบาบิโลน อัสสิเรียน เปอร์เซีย กรีก โรมัน ในช่วงที่อยู่ภายใต้การปกครองของโรมัน ชาวยิวกลุ่มหนึ่งได้ลุกขึ้นแข็งข้อต่ออำนาจของจักรพรรดิติตัส ของโรมัน จักรพรรดิติตัสจึงสั่งทำลายกรุงเยรูซาเล็มซึ่งอยู่ทางตอนเหนือเสียจนราบคาบ จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 4ปาเลสไตน์ก็ตกเป็นของชาวคริสต์
จักรพรรดิคอนสแตนติน ซึ่งเข้ารีตคริสต์ได้สร้างวิหารศักดิ์สิทธิ์ขึ้นในกรุงเยรูซาเล็ม กลายเป็นสถานที่ดึงดูดให้คริสต์ศาสนิกชนเข้ามาจาริกแสวงบุญกันมากขึ้น จนกลายเป็นศูนย์กลางระบบสงฆ์และนักบวชในศาสนาคริสต์ จนเกิดการสร้างโบสถ์และวิหารต่างๆ ตามมาอีกมากมาย 
จนกระทั่งกลุ่มชาติอาหรับได้เข้ามาในดินแดนแถบนี้ในปี ค.ศ.637 ประชากรที่เคยนับถือคริสต์ก็เริ่มแปรเปลี่ยนมานับถืออิสลามมากขึ้น จนประชากรส่วนใหญ่ก็ลายเป็นชาวมุสลิมไปจนเกือบทั้งหมด 
ดินแดนนี้ได้ถูกผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันครอบครองจากสองชนชาติคือ อาหรับมุสลิมและอาหรับคริสต์ มานานกว่า 800ปี ซึ่งมีอยู่ช่วงหนึ่งที่อาณาจักรออตโตมานได้ครอบครองนานถึง 400 ปี แต่ประชาชนในดินแดนแถบนี้มิได้ถูกปรับเปลี่ยนไปแต่อย่างใด แม้แต่เชื้อชาติพลเมืองก็ยังคงเป็นชาวอาหรับเสียส่วนใหญ่ เหมือนก่อนหน้าที่พวกออตโตมานบริหาร รวมถึงภาษา ประเพณี วัฒนธรรม ก็ยังคงเดิม 
ราวปี ค.ศ.1897 ได้มีการก่อตั้งกลุ่มลัทธิไซออนนิสม์ (Zionist) โดยกลุ่มชาวยิวปัญญาชนและพ่อค้ายิวที่ทำมาหากินจนร่ำรวยจากทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะบนแผ่นดินอเมริกาและยุโรป มีจุดประสงค์เพื่อนำชาวยิวกลับมาตั้งถิ่นฐาน สร้างชาติยิวขึ้นมาใหม่บนแผ่นดินปาเลสไตน์
ซึ่งกลุ่มไซออนนิสต์ยึดมั่นในพระคัมภีร์ที่ว่า "พระเจ้าได้ประทานดินแดนแห่งนี้ให้กับชาวยิว"
แต่ในขณะนั้นปาเลสไตน์ตกอยู่ใต้อาณัติของอังกฤษ กลุ่มไซออนนิสต์ใช้เวลานับสิบปีลงทุนกว้านซื้อที่ดินจากเจ้าของที่ดินชาวอาหรับอย่างถูกกฎหมาย และจัดการพัฒนาพื้นที่ที่เคยแห้งแล้งให้สามารถเพาะปลูกได้ ท่ามกลางความไม่พอใจของบรรดาชาวอาหรับเจ้าของที่ดินเดิม แต่ก็ไม่อาจทำอะไรได้เพราะได้ทำการซื้อขายกันไปแล้วตามกฎหมายทุกประการ 
ความขัดแย้งในการครอบครองดินแดนยังคงคุกรุ่นอยู่เรื่อยมา โดยมีกลุ่มไซออนนิสต์ดำเนินการอยู่ทั้งโดยเบื้องหน้าและเบื้องหลัง จนกระทั่งภาคพื้นยุโรปเกิดสงครามโลกขึ้นและได้ลุกลามขยายวงกว้างมายังดินแดนปาเลสไตน์


ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ดร.คาอิม ไวช์มันน์ นักเคมีชาวยิวสมาชิกกลุ่มไซออนนิสต์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิด และได้เปลี่ยนสัญชาติจากลัตเวียมาเป็นอังกฤษ ในปี ค.ศ.1910 ได้ทำการคิดค้นดินระเบิดประสิทธิภาพสูงซึ่งสามารถผลิตเองได้โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่าย
เนื่องจากก่อนหน้านั้นกองทัพอังกฤษใช้ดินระเบิดคอร์ไดท์ ซึ่งอังกฤษผลิตเองได้แต่จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบสำคัญคือ อาซีโทน (Acetone) โดยอาซีโทนนี้จำเป็นต้องสั่งเข้าจากเยอรมันซึ่งเป็นคู่สงคราม
เมื่อไม่มีวัตถุดิบ อังกฤษจึงประสบปัญหาใหญ่ในการทำสงคราม จนกระทั่งได้ ดร.คาอิม มาช่วย อังกฤษจึงยังคงสามารถเข้าร่วมรบในสงครามโลกต่อไปได้ 
จากการช่วยเหลือของ ดร.คาอิม (ต่อมาได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ กระทรวงทหารเรือของอังกฤษ ในช่วงปี 1916-1919) ทำให้อังกฤษซึ่งมีอิทธิพลเหนือดินแดนตะวันออกกลางในช่วงนั้น ตอบแทนโดยการมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้เป็นที่พักพิงถาวรของชาวยิว โดย ลอร์ด อาร์เธอร์ เจมส์ บาลฟอร์ (Lord. Arthur James Balfour)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของอังกฤษในขณะนั้น เป็นผู้ลงนามใน "สนธิสัญญาบาลฟอร์" 
ขณะเดียวกันก็เกิดสนธิสัญญาขึ้นซ้อนอีกหนึ่งฉบับที่ลงนามโดย เซอร์เฮนรี่ แม็กมาฮอน (Sir. Henry McMahon) ข้าหลวงใหญ่ของอังกฤษในอียิปต์ ซึ่งไปตกลงกับชาวอาหรับว่า หากชาวอาหรับช่วยอังกฤษทำสงครามกับเยอรมันแล้ว อังกฤษจะยกดินแดนบางส่วน รวมถึงปาเลสไตน์คืนให้แก่ชาวอาหรับ แต่เมื่อสิ้นสงคราม อังกฤษก็ยังคงยึดครองปาเลสไตน์โดยมิได้มอบให้แก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เนื่องด้วยฝ่ายยิวและอาหรับต่างก็อ้างสนธิสัญญาที่ตนเองถือเป็นข้ออ้างในการครอบครองดินแดน 
ปี ค.ศ.1923 องค์การสันนิบาตชาติ มอบหมายให้อังกฤษเป็นผู้ดำเนินการส่งมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้แก่ชาวยิว แต่อังกฤษก็ยังคงครอบครองดินแดนไว้เพื่อใช้ต่อรองกับกลุ่มชาติอาหรับ ในการทำสงครามโลกครั้งที่ ซึ่งแน่นอนว่าภายหลังสงคราม ดินแดนเจ้าปัญหานี้ก็ยังไม่ได้ถูกส่งมอบให้แก่ฝ่ายไหนอยู่ดี อีกทั้งปัญหาการอพยพเข้ามาของชาวยิวจำนวนมากก็ยังเพิ่มทวีความวุ่นวายเข้าไปทุกขณะ โดยมีกลุ่มชาติอาหรับแสดงท่าทีไม่พอใจอย่างเห็นได้ชัด
ปี ค.ศ.1947 สมัชชาสหประชาชาติ ลงมติแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ให้กับชาวยิว โดยแบ่งเอาดินแดนบางส่วนของซีเรียและอียิปต์ไปด้วย โดยมติดังกล่าวไม่ได้ขอความเห็นชอบจากชาวปาเลสไตน์เลยแม้แต่น้อย 
การแบ่งดินแดนในครั้งนั้น ทำให้ปาเลสไตน์ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวยิว และอีกส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวอาหรับ 
ปี ค.ศ.1948 มีการจัดตั้งรัฐยิวขึ้นอย่างเป็นทางการบนแผ่นดินปาเลสไตน์ โดยมี ดาวิด เบนกูเรียน (David Bengurion) เป็นผู้นำคนแรก โดยตั้งชื่อว่า รัฐอิสราเอล ส่งผลให้ชาวยิวที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้กลายเป็นชาวอิสราเอลไปโดยปริยาย ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้ชนชาติอาหรับ
จนกลุ่มชาติอาหรับจัดตั้งกองกำลังบุกเข้าอิสราเอล 
   อ.อับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)  

ปัญหาปาเลสไตน์-อิสราเอลครั้งใหม่ จุดประทุการก่อการร้ายปี 2552 (2)
สงครามที่กินเวลายาวนาน เดือน ลงเอยด้วยความพ่ายแพ้ของชาติอาหรับ แต่ก็ก่อให้เกิดการรบพุ่งกันต่อเนื่องมาอีกหลายต่อหลายครั้ง โดยเฉพาะ "สงคราม วัน" ในปี ค.ศ.1967 ประธานาธิบดี นัสเซอร์ แห่งอียิปต์ ส่งกองกำลังทหารกว่าแสนนาย จากความร่วมมือของ ชาติอาหรับ เข้าถล่มอิสราเอลที่มีกองกำลังเพียง แสนนายเท่านั้น
เหตุการณ์กลับตาลปัตรกลายเป็นว่ายิวเป็นฝ่ายมีชัยในสงคราม อีกทั้งยังยึดดินแดนของฝ่ายชาติอาหรับมาเป็นของตน ไม่ว่าจะเป็นเขตกาซ่าตะวันออก แหลมซีนายของอียิปต์ ชายฝั่งตะวันตกบางส่วนของแม่น้ำจอร์แดน (เขตเวสต์แบงก์) ที่ราบสูงโกรันของซีเรีย นครเยรูซาเล็มฝั่งตะวันออก ซึ่งดินแดนที่ว่านี้ก็ยังถูกอิสราเอลครอบครองมาจนถึงปัจจุบัน
นอกเหนือจากชัยชนะครั้งนี้แล้ว อิสราเอลยังฉวยโอกาสนี้ทำการขับไล่ชาวอาหรับออกจากจากดินแดนของตนเป็นจำนวนมาก 
จากความพ่ายแพ้ในครั้งนี้ ทำให้กลุ่มชาติอาหรับลดความนับถือต่อประธานาธิบดี นัสเซอร์ เป็นอย่างมาก และยังทำให้ "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์" (PLO : Palestine Liberation Organization) ที่เขาก่อตั้งขึ้น ต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งใหญ่ มีการเลือกประธานคนใหม่ที่มาพร้อมกับนโยบายที่แข็งกร้าวขึ้น นั่นคือ นายยัสเซอร์ อาราฟัต (Yasser Arafat) 
อาราฟัต เข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองมาตั้งแต่สมัยที่ยังศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยแห่งกษัตริย์ฟาฮัดที่ ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ และได้เข้าร่วมเป็นทหารในกองทัพอียิปต์เมื่อครั้งสงครามคลองสุเอซ ในปี ค.ศ.1956 จากนั้นได้ไต่เต้าขึ้นมาสู่ตำแหน่งสำคัญๆ ในองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์จนกระทั่งก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำในที่สุดอาราฟัต พยายามอย่างยิ่งในการแสดงให้ชาวโลกยอมรับการมีตัวตนของชาวปาเลสไตน์และพยายามแสดงให้เห็นถึงความชอบธรรม ในการกอบกู้ดินแดนของชาวปาเลสไตน์คืนจากอิสราเอล ในปี 1972 ณ เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี โดยกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "ขบวนการกันยาทมิฬ" (Black September)กลุ่มนักรบปาเลสไตน์บุกเข้าหอพักนักกีฬาโอลิมปิก พร้อมกับจับตัวนักกีฬาชาวอิสราเอลจำนวน 11 คนเป็นตัวประกัน โดยพวกเขาเรียกร้องให้รัฐบาลอิสราเอลปล่อยตัวนักโทษการเมืองชาวปาเลสไตน์ 234 คน และอีก คนที่ถูกคุมขังอยู่ที่เยอรมัน พร้อมทั้งร้องขอเครื่องบินเพื่อเตรียมหลบหนีเข้าอียิปต์ 
อิสราเอล นำโดยนางโกลดา เมียร์ (Golda Mier) นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นซึ่งดำเนินนโยบายแข็งกร้าวต่อปาเลสไตน์และไม่ยินยอมเจรจากับผู้ก่อการ ปฏิเสธข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ก่อการ และยังส่งหน่วยรบพิเศษที่เชี่ยวชาญในการชิงตัวประกันเข้ามาช่วยเหลือ
แต่รัฐบาลเยอรมันปฏิเสธ เนื่องจากต้องการจัดการสะสางปัญหาด้วยตนเองเพื่อรักษาหน้าของเจ้าภาพโอลิมปิก
หรืออีกประเด็นหนึ่งที่เป็นนัยยะแอบแฝง นั่นคือคือรัฐบาลเยอรมันต้องการแสดงความรับผิดชอบและลบล้างความผิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ ที่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวนั่นเอง 
แต่ปฏิบัติการของทีมช่วยเหลือของเจ้าภาพผิดพลาด พลแม่นปืนของเยอรมันทำพลาดจนทำให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ เมื่อตัวประกันเสียชีวิตหมดทั้ง 11 คน ตำรวจเยอรมันเสียชีวิต นาย ผู้ก่อการร้ายเสียชีวิต ราย ถูกจับเป็น 3ราย 
โศกนาฏกรรมครั้งนี้สร้างความเคืองแค้นให้อิสราเอลอย่างมาก เพราะนอกจากตัวประกันจะเสียชีวิตหมด บรรดาชาติต่างๆ ก็ดูเหมือนจะลืมเลือนเรื่องนี้กันอย่างรวดเร็ว โดยหันสนใจการแข่งขันโอลิมปิกแทน ทั้งที่เกิดเรื่องราวอันเลวร้ายเช่นนี้แต่นานาชาติกลับยังคงดำเนินการแข่งขันต่อไปราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
สิ่งเดียวที่มีการแสดงออกคือการลดธงลงครึ่งเสา ยกเว้นเพียงกลุ่มประเทศอาหรับที่ยืนยันไม่ยอมลดธง
ซึ่งเป็นการประกาศเจตนารมณ์ที่ชัดเจนถึงความชอบธรรมในการก่อการครั้งนี้ 
อิสราเอลไม่ได้นิ่งนอนใจ พวกเขาลงมือปฏิบัติการตอบโต้อย่างทันควัน นางโกลดา เมียร์ ส่งฝูงบินอิสราเอลไปถล่มฐานปฏิบัติการขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ในซีเรียและเลบานอน รวมถึงการส่งหน่วยจารชนเข้าไปจัดการกับกลุ่ม PLO ทั้งในปาเลสไตน์ กลุ่มชาติอาหรับ และหลายพื้นที่ในยุโรปอย่างลับๆ
ซึ่งปฏิบัติการหลายครั้งสร้างความเสียหายขั้นรุนแรง แต่อิสราเอลก็ไม่ได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบอีกทั้งปฏิเสธอย่างแข็งขันว่าพวกเขาไม่ได้อยู่เบื้องหลังการล้างแค้นดังกล่าว
แต่ก็เป็นที่รู้กันดีว่าเหตุการณ์สะเทือนขวัญหลายครั้งเกิดขึ้นจากฝีมือของหน่วยสืบราชการลับอิสราเอล ที่เรียกตัวเองว่าพวก มอสสาด (Mossad)

หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติการด้วยความรุนแรงทั้งอย่างลับๆ และอย่างโจ่งแจ้งมาช่วงระยะหนึ่ง ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็พบว่าการใช้ความุรนแรงไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด ผู้นำของ PLO และอิสราเอล ยอมหันหน้าเข้าหากัน โดยเจรจาผ่านทางสหประชาชาติในปี 1972
การประนีประนอมครั้งนี้เป็นผล ก่อให้เกิดการลงนามใน "ข้อตกลงสันติภาพออสโล ฉบับที่ 1" ในปี 1993 เป็นการประกาศว่าโลกยอมรับให้มีดินแดนปกครองตนเองที่ชื่อปาเลสไตน์ ในเขตเวสต์แบงก์และฉนวนกาซ่า 
จากข้อตกลงสันติภาพดังกล่าว ทำให้นายอาราฟัต ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในปี 1994 ร่วมกับ พลเอกยิตซัค ราบิน (Yitzhak Rabin) และ นายชิมอน เปเรส (Shimon Peres) นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิสราเอลในสมัยนั้น 
แต่แล้วความสงบสุขก็อยู่ได้ไม่นาน เมื่อกลุ่มชาวยิวหัวรุนแรงในอิสราเอล ไม่พอใจท่าทีที่ยอมอ่อนข้อของนายกฯ ราบิน จึงเกิดการลอบสังหารขึ้น ในปี 1995 ตามด้วยการลุกฮือของชาวปาเลสไตน์ จากนั้นสันติภาพก็ลอยห่าง ความขัดแย้งทวีเพิ่มขึ้น แม้นายอาราฟัตจะได้เป็นประธานาธิบดีปาเลสไตน์ในปีถัดมา แต่ความนิยมในตัวเขาก็ลดลงเนื่องจากผู้คนเห็นว่าเขาอ่อนข้อให้อิสราเอลจนเกินไป
หนำซ้ำ นายอาเรียล ชารอน (Ariel Sharon) นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอิสราเอล ก็มีทีท่าแข็งกร้าว ไม่ยอมเจรจากับเขา เนื่องจากเห็นว่านายอาราฟัตยังแอบหนุนให้มีการใช้ความรุนแรงกับอิสราเอลอยู่
เสรีภาพที่ได้มาทำให้ชาวปาเลสไตน์ปิติยินดี ออกมาฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ มีการยิงปืนขึ้นฟ้าและลุกลามไปถึงขั้นจุดไฟเผาทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นสัญลักษณ์ของชาวยิว จากนั้นก็ชักธงชาติปาเลสไตน์ขึ้นยอดเสา
แต่ขณะเดียวกันชาวยิวบางส่วนที่ยังอาศัยอยู่ในดินแดนนี้ก็เกิดความไม่พอใจ ออกมาก่อความวุ่นวายตามท้องถนนจนเกิดเป็นจลาจลไปทั่วเมือง 
ปัญหาปาเลสไตน์นับเป็นประเด็นความขัดแย้งที่สำคัญยิ่งของโลก เพราะมีมหาอำนาจหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ที่ผ่านมาได้มีความพยายามกันแล้วหลายครั้งหลายคราที่จะแก้ไขปัญหาผ่านกระบวนการเจรจาแบบสันติวิธี แต่ท้ายที่สุดความพยายามเหล่านั้นก็ล้มเหลวลงอย่างไม่เป็นท่า
ส่วนคณะปกครองปาเลสไตน์หรือรัฐบาลปาเลสไตน์ภายใต้การนำของกลุ่มฟาตะห์ (ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นมาหลังการเจรจาสันติภาพที่กรุงมาดริดในปี ค.ศ.1993) ก็ไม่สามารถทำอะไรได้มากไปกว่า การให้ความหวังต่อชาวปาเลสไตน์ทั้งมวลว่า พวกเขาจะได้รัฐเอกราชกลับคืนมา
อันจะเป็นดินแดนที่ประกอบไปด้วยพื้นที่เหล่านี้รวมกันคือ ฉนวนกาซ่า ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน (West Bank) และเยรูซาเล็มตะวันออก
ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นดินแดนที่อิสราเอลยึดครองอย่างผิดกฎหมาย มาตั้งแต่หลังสงคราม วันในปี ค.ศ.1967 
ตั้งแต่ปี ค.ศ.1993 ที่กระบวนการสันติภาพได้เริ่มต้นขึ้น ซึ่งมีการตกลงเห็นพ้องกันว่า รัฐปาเลสไตน์จะได้รับการสถาปนาขึ้นภายในอีกไม่กี่ปีหลังจากนั้น แต่จนกระทั่งถึงบัดนี้ ชาวปาเลสไตน์ยังคงมีแต่ความว่างเปล่า ไม่เคยได้อะไรจากความหวังที่ตนตั้งหน้าตั้งตารอคอยเลย
มิหนำซ้ำพวกเขากลับต้องทนทุกข์ทรมานจากมาตรการทางทหาร และการปิดกั้นทางเศรษฐกิจของฝ่ายอิสราเอล
ส่วนทางด้านคณะปกครองปาเลสไตน์นั้น นับวันก็ยิ่งสร้างความผิดหวังให้แก่ประชาชนเพิ่มมากขึ้น เพราะนอกจากจะไม่สามารถทำอะไรได้แล้ว ยังมีการคอร์รัปชั่นกันภายในอย่างมโหฬารและมีความแตกแยกกันเองภายในกลุ่ม
มิหนำซ้ำ นายยัซเซอร์ อารอฟัต ผู้นำหนึ่งเดียวของฟาตะห์ที่เป็นวีรบุรุษและสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์ กลับต้องมาจบชีวิตลงในช่วงเวลาที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อนี้อีกด้วย

เมื่อต้นปี ค.ศ.2006 พรรคฮามาสชนะในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติ จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ยังความไม่พอใจให้แก่กลุ่มอำนาจเก่าอย่างฟาตะห์เป็นอย่างยิ่ง นับจากนั้นเป็นต้นมากระบวนการที่จะโค่นล้มรัฐบาลฮามาสจึงเริ่มต้นขึ้น ทั้งจากภายในและภายนอกโดยมีสหรัฐฯและอิสราเอลเป็นแกนนำ
แม้รัฐบาลฮามาสจะพยายามประนีประนอม โดยยอมแบ่งสรรอำนาจให้กลุ่มฟาตะห์อย่างที่ไม่เคยมีพรรคการเมืองที่ไหนทำกัน แต่ความพยายามเหล่านั้นก็ไม่เป็นผล ท้ายที่สุดเหตุการณ์จึงจบลงด้วยการปะทะต่อสู้กันอย่างดุเดือด เป็นสงครามกลางเมืองภายใน
อันนำไปสู่การยึดอำนาจในเมืองกาซ่าโดยพรรคฮามาส ในขณะที่กลุ่มฟาตะห์ก็หันไปยึดครองเวสต์แบงค์ และจัดตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่ที่นั่นเมื่อช่วงกลางปี 2007
ซึ่งก็เท่ากับว่า ขณะนี้ดินแดนปาเลสไตน์ในอดีตไม่ได้ถูกแบ่งออกเป็น ส่วนตามที่เข้าใจกันอีกต่อไปแล้ว แต่ยังเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งส่วน กลายเป็น ส่วน คือ 1. อิสราเอล 2. กาซ่าภายใต้การนำของรัฐบาลฮามาส และ 3. เวสต์แบงค์ภายใต้การนำของรัฐบาลฟาตะห์
แน่นอนความแตกแยกในหมู่ปาเลสไตน์ในลักษณะเช่นนี้ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น