วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การพัฒนาอย่างยั่งยืน


กิจกรรม การเรียนรู้ที่ การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผลการเรียนรู้
      1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
      2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
      3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
ความรู้ความเข้าใจหรือความจำเป็นในการจรรโลง รักษา และพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยปราศจากการทำลายโลก เพื่อความอยู่รอดของชีวิตในรุ่นต่อไป
กิจกรรม
      1.       แนวคิดเกี่ยวกับความจำเป็นในการจรรโลง รักษา และพัฒนาคุณภาพชีวิต
การพัฒนาที่ผ่านมา เป็นการพัฒนาในด้านความเจริญเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ  และปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต มองกันที่อุตสาหกรรม เน้นความเจริญทางวัตถุ  จนเกิดผลร้ายต่อธรรมชาติแวดล้อม เป็นการพัฒนาที่ไม่สมดุล  ทำให้ธรรมชาติร่อยหรอ  และเกิดปัญหามากมายไม่ว่าจะเป็น ปัญหาสภาพแวดล้อม  ปัญหาสังคมและปัญหาสภาพจิตใจ  จึงเป็นการพัฒนาที่ผิดพลาด  กำลังจะทำให้โลกสู่หายนะ และความพินาศ  เพราะเป็นการพัฒนาที่เสียสมดุล  ทำให้โลกไม่เหมาะสมแก่การอยู่อาศัย และอาจจะอยู่อาศัยไม่ได้  ส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน  จึงเกิดแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงกระบวนการพัฒนาใหม่  โดยเปลี่ยนวิธีการพัฒนาโดยใช้ “คน”  เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ในที่นี้จะขอกล่าวถึงการพัฒนาของประเทศไทย    ประเทศไทยเองก็ได้ดำเนินการที่จะทำให้เกิดการพัฒนายั่งยืนโดยใช้ คน”  เป็นศูนย์กลาง  จะเห็นได้จากแผนการพัฒนาฉบับที่ 8,   และ 9  ที่ให้สำคัญต่อการพัฒนาคนและกระบวนการ พัฒนาที่บูรณาการการเชื่อมโยงกันทุกด้านโดยมีเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน  และสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่ดีมีสุขของคนไทยอย่างยั่งยืนตลอดไป

                เราคงต้องกลับมามองตัวสาเหตุของปัญหาที่ทำให้ประเทศชาติของเราไม่สามารถที่จะไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้  

       2.       หลักการในการจรรโลง รักษา และพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยปราศจากการทำลายโลก เพื่อความอยู่รอดของชีวิตในรุ่นต่อไป
          สืบเนื่องจากคนไทยไม่ค่อยประสบเคราะห์กรรมหรือมรสุมชีวิตมากเหมือนคนในประเทศอื่นๆ ที่เขาต้องลำบากอยู่ในภาวะสงครามตลอดปีตลอดชาติ อดอยากปากแห้งเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ไม่เคยพ่ายแพ้สงคราม ไม่เคยรู้รสชาติของคำว่าแพ้  ไม่เคยลิ้มรสของความเจ็บปวด ดังนั้น ความเป็นอยู่ที่สบายก่อให้เกิดเป็นนิสัยที่มักง่าย ไม่ต้องซีเรียสอะไรมากมาย     ยังไงก็ไม่อดตาย เพราะใน(น่าน)น้ำ(ทะเลประเทศเพื่อนบ้าน)มีปลาและในนามีข้าว(แต่ลิขสิทธิเป็นของคนอื่นไปแล้ว)  จึงทำให้การดำเนินชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่เป็นแบบเรียบง่ายปล่อยให้ชีวิตเป็นไปตามสภาพแวดล้อม (Reactive) มากกว่าเอาชีวิตไปจัดการกับสิ่งแวดล้อม(Proactive)

       3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน
 ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตนั้นมีอยู่มากมาย และสิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถละเลยที่จะนึกถึงนั่นคือ ปัจจัย 4 อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม
ยารักษาโรคและที่อยู่อาศัย ซึ่งนับเป็นปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้นในการดำรงชีวิต ที่สำคัญ ซึ่งมนุษย์ทุกคนจะขาดเสียมิได้
          นอกจากนั้นแล้ว การศึกษา ก็นับว่าเป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตอีกข้อที่สำคัญ เพราะทั่วโลกจะถือว่า “ประเทศที่มีอัตราการศึกษาของ
ประชากรภายในประเทศอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสูงนั้น ย่อมถือว่า ประชากรในประเทศนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย” เช่น ประเทศ
สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ เป็นต้น
 
      4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับ ท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
    
          การพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 มิติดังต่อไปนี้
1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกาย ได้แก่ การให้ความสำคัญกับสุขภาพ รู้จักบริโภคอาหารอย่างถูก สุขลักษณะและ
ครบ 5 หมู่ หาเวลาพักผ่อนและออกกำลังเป็นประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์
2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านอารมณ์ เป็นการสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี รู้จักควบคุมอารมณ์ โดยการ หมั่นฝึกให้ทาน การ
ทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ การเข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการ การฝึกสมาธิ เป็นต้น
3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสังคม เป็นการสร้างการยอมรับ และยกย่องจากสังคม อันได้แก่ การเข้า ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน ๆ
หรือจากหน่วยงานต่างๆ ที่จัดขึ้น การใช้เวลาว่างบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน และการปฏิบัติตนโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม เป็นต้น
4.) การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสติปัญญา เป็นการเพิ่มทักษะทางด้านความรู้ให้กับตนเอง อาทิเช่น การอ่านหนังสือ การเข้า
รับการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ การศึกษา ข้อมูลด้วยตนเองจากสื่อสารสนเทศ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ
รวมไปถึงการหัดสังเกตและติดตามการเปลี่ยน แปลงของสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น