วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การจัดการกับความซับซ้อนของโลก


กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 15  การจัดการกับความซับซ้อนของโลก

ผลการเรียนรู้
      1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
      2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
      3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
การจัดการกับความซับซ้อนของโลก
กิจกรรม
            1.       แนวคิดเกี่ยวกับความซับซ้อนของโลก 
เราต้องเข้าใจว่าคนที่ยึดถือแนวเสรีนิยมในยุคนั้นคือคนสมัยใหม่ก้าวหน้า ที่กำลังสู้กับระบบเก่า แต่พอชนชั้นนายทุนสถาปนาตนเองเป็นเป็นชนชั้นปกครอง และระบบทุนนิยมครอบงำโลกได้ กระแสคิดหลักของนายทุนก็เปลี่ยนไปเป็นการปกป้องอำนาจและผลประโยชน์ของเขา คือเขากลายเป็นคนอนุรักษ์นิยมนั้นเอง 


            2.       หลักการจัดการกับความซับซ้อนของโลก
.สรุปแล้วความขัดแย้งในวิกฤตการเมืองปัจจุบัน ไม่ใช่ระหว่างกลุ่มชนชั้นนำที่ใช้เสรีนิยม กับกลุ่มชนชั้นนำที่อยากปิดประเทศและหมุนนาฬิกากลับไปสู่ยุคก่อนโลกาภิวัตน์แต่อย่างใด แต่เป็นความขัดแย้งระหว่างอำมาตย์อนุรักษ์นิยมที่ต้องการปกครองประชาชน โดยที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมอะไรเลย ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ กับนักการเมืองนายทุนที่ทำแนวร่วมประชาธิปไตยกับพลเมืองส่วนใหญ่ผ่านการพัฒนาสังคม
พรรคประชาธิปัตย์ จึงเป็นทั้งพรรคเสรีนิยม และพรรคอนุรักษ์นิยมได้ และนักวิชาการเสรีนิยมในไทยเป็นพวกที่สนับสนุนอำมาตย์กับเผด็จการ

            3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน
ในปัจจุบัน แนวคิดเสรีนิยมกลายเป็นแนวที่ต่อต้านการใช้รัฐ เพื่อสร้างสวัสดิการและความเป็นธรรมสำหรับส่วนรวม ซึ่งเป็นกระแสหลักในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เสรีนิยมที่รื้อฟื้นขึ้นมานี้เป็นแนวคิดที่เน้นสิทธิปัจเจกของคนรวยและนายทุน เหนือสิทธิของคนธรรมดาที่มาจากการเน้นผลประโยชน์ส่วนรวม “เสรีนิยมใหม่”หรือ Neo-liberalism คือลัทธิของคนที่เน้นการค้าเสรี การขายรัฐวิสาหกิจให้เอกชน และการยกเลิกรัฐสวัสดิการ เช่นพรรคอนุรักษ์นิยมในอังกฤษและส่วนอื่นของยุโรปและในสหรัฐ ในทศวรรษ 1980 (ยุค Thatcher กับ Reagan) พวกนี้นอกจากจะเน้นความ “ศักดิ์สิทธิ์ของกลไกตลาด” และความ “จำเป็น” ที่จะลดบทบาทรัฐแล้ว เขาพร้อมจะรับแนวคิด “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” แล้วยังอ้างว่าการลดบทบาทรัฐในระบบเศรษฐกิจ จะทำให้มี “ประชาธิปไตย” มากขึ้น แต่ในความเป็นจริงมันเป็นการทำลายสิทธิเสรีภาพของคนทำงานซึ่งต้องการให้รัฐปกป้องความเสมอภาคในสังคม


            4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
เมื่อไม่นานมานี้มีคนตั้งคำถามสำคัญท้าทายกับผมว่า “ทำไมถึงเสนอว่าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคอำมาตย์ เป็นพรรคเสรีนิยม?” ผมจะพยายามตอบในบทความนี้
แนวคิดเสรีนิยม (Liberalism) เป็นทั้งแนวคิดทางการเมืองและเศรษฐศาสตร์พร้อมกัน แยกออกจากกันไม่ได้ จุดเริ่มต้นของแนวนี้คือการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชนชั้นนายทุน กับชนชั้นขุนนางอนุรักษ์นิยมในยุโรป ในสมัยปฏิวัติ อังกฤษ อเมริกา และฝรั่งเศส เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17-18
ในยุคนั้นพวกขุนนางอนุรักษ์นิยมสามารถผูกขาดอำนาจเศรษฐกิจ ผ่านการถือตำแหน่งในรัฐ และสามารถควบคุมอำนาจทางการเมืองผ่านเผด็จการ ดังนั้นแนวคิดของชนชั้นนายทุน ซึ่งเป็นชนชั้นใหม่ที่เติบโตขึ้นมาและท้าทายขุนนางอนุรักษ์นิยม จะเสนอว่าต้องมีประชาธิปไตย และสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน และต้องทำลายการผูกขาดระบบเศรษฐกิจของรัฐโดยการใช้กลไกตลาดเสรีและการค้าเสรี
นักคิดสำคัญๆ ของแนวเสรีนิยมนี้มีอย่างเช่น John Locke, de Tocqueville, James Mill และเขามักจะเน้นเรื่อง “ประชาธิปไตย” เสรีภาพปัจเจก กับสิทธิในทรัพย์สินปัจเจก เพื่อเผชิญหน้ากับรัฐเผด็จการของขุนนาง ส่วน Adam Smith จะเน้นเรื่องความสำคัญของกลไกตลาดเสรีเพื่อต้านการผูกขาด แต่ “ประชาธิปไตย” ของเขาไม่ใช่ประชาธิปไตยที่พลเมืองชายหญิงทุกชนชั้นจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน อย่างที่เราเข้าใจในยุคนี้ มันเป็นการเน้นสิทธิเสรีภาพของนักธุรกิจและชนชั้นกลางเพศชายมากกว่า สิทธิในทรัพย์สินคือสิทธิของนายทุนที่จะจ้าง (และขูดรีด) แรงงาน และสำหรับ Smith การใช้กลไกตลาดมีเป้าหมายในการทำลายอำนาจผูกขาดของขุนนาง ในขณะเดียวกัน Smith เน้นว่าระบบเศรษฐกิจที่พึงปรารถนา จะมีความเป็นธรรมสำหรับคนจนด้วย ไม่ใช่ระบบ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” แต่ลูกศิษย์ Smith ในยุคนี้มักจะลืมประเด็นสำคัญอันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น